กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9347
ชื่อเรื่อง: แนวทางการถ่ายทอดความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพของชุมชุนในจังหวัดชัยภูมิ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for imparting local wisdom knowledge to promote careers of local communities in Chaiyaphum Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนกนารถ บุญวัฒนะกุล
ปนัดดา สัพโส, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สารีพันธุ์ ศุภวรรณ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธนาศัย--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์
ภูมิปัญญาชาวบ้าน--การสอน
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สำรวจสภาพปัญหาและความต้องการการถ่ายทอดความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพของชุมชนในจังหวัดชัยภูมิ (2) สร้างแนวทางการถ่ายทอดความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีของชุมชนในจังหวัดชัยภูมิ (3) ประเมินแนวทางการถ่ายทอดความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพของชุมชนในจังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วย (1) ภูมิปัญญาท้องถิ่นจำนวน 12 คน และ (2) ประชาชนจำนวน 361 คนจากชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดชัยภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสำรวจ แบบสร้างแนวทางการถ่ายทอดความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพของชุมชนในจังหวัดชัยภูมิ และแบบประเมินและรับรองแนวทางการถ่ายทอดความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการประกอบอาชีพของชุมชน ในจังหวัดชัยภูมิ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) เกี่ยวกับสภาพปัญหาของการถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่าประชาชนในท้องถิ่นส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือ ทำนา ทำสวน ทำไร่และมีเวลาว่างน้อย ขาดความร่วมมือในชุมชน ขาดงบประมาณ สถานที่ถ่ายทอดความรู้ ยังไม่เหมาะสม ขาดการประชาสัมพันธ์ ไม่มีเวทีแสดงผลงานของภูมิปัญญาท้องถิ่น ขาดการสนับสนุนด้านการตลาดและพื้นที่สาธารณะจำหน่ายสินค้าจากภูมิปัญญาท้องถิ่น สำหรับความต้องการถ่ายทอดความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ ต้องการให้มีการถ่ายทอดความรู้เพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนอย่างจริงจัง ต้องการให้บรรจุความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในหลักสูตรสถานศึกษาและนำไปปฏิบัติจริง ให้ภาครัฐและเอกชนสนับสนุนการตลาด (2) แนวทางการถ่ายทอดความรู้ของภูมิปัญญาท้องถิ่นประกอบด้วย องค์ประกอบเหล่านี้ คือ วิธีการถ่ายทอดความรู้ บุคคล สื่อและการประชาสัมพันธ์ การบริหารจัดการความรู้ สถานที่ และงบประมาณ (3) การประเมินแนวทางการถ่ายทอดความรู้ ของภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ วิธีการถ่ายทอดความรู้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ควรสร้างขวัญกําลังใจให้กับภูมิปัญญาท้องถิ่นทุกด้าน สื่อและประชาสัมพันธ์ต้องต่อเนื่อง หน่วยงานรัฐควรส่งเสริม ให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นและประชาชนร่วมกันบริหารจัดการความรู้ ควรใช้พื้นที่สาธารณะถ่ายทอดความรู้ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสนับสนุนงบประมาณ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9347
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
156030.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons