Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9359
Title: แนวทางการเทียบระดับการศึกษาขั้นสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในกลุ่มจังหวัดอันดามัน
Other Titles: Guidelines for credit equivalencies with the highest basic education level of the non-formal and informal education programs of the Offices of Non-Formal and Informal Education in the Andaman Group Provinces
Authors: สุมาลี สังข์ศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
สารีพันธ์ ศุภวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อิสรา บัวบาล, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
การศึกษานอกระบบโรงเรียน
การศึกษาตามอัธยาศัย
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการดำเนินงานการเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในกลุ่มจังหวัดอันดามัน 2) ศึกษาความคิดเห็นต่อแนวทางการเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษา ขั้นพื้นฐานของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในกลุ่มจังหวัดอันดามัน และ 3) เสนอแนวทางการเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐานของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในกลุ่มจังหวัดอันดามัน กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหาร กศน.จังหวัด จำนวน 5 คน ผู้บริหาร กศน.อาเภอ จำนวน 24 คน กรรมการเทียบระดับจังหวัด จำนวน 25 คน กรรมการเทียบระดับอำเภอ จำนวน 55 คน ครูที่ปรึกษา จำนวน 28 คน และนักศึกษา จำนวน 281 คน จาก 5 จังหวัดในกลุ่มอันดามัน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่าสำหรับกลุ่มตัวอย่างทุกกลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผู้วิจัยได้สังเคราะห์ข้อมูลแล้วจัดทำแนวทางการเทียบระดับการศึกษาเสนอต่อผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 10 คน เพื่อให้ข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาปรากฏดังนี้ (1) สภาพการดำเนินงานการเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่ได้คะแนนเฉลี่ยสภาพการดำเนินการสูงกว่าด้านอื่น คือการวัดผลประเมินผล รองลงมาคือ ครูที่ปรึกษาและเกณฑ์การจบการศึกษา ปัญหาการดำเนินงานในภาพรวม อยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า มีปัญหาด้านการแนะแนวมากที่สุด รองลงมา คือ การประชาสัมพันธ์ ตามลำดับ (2) กลุ่มตัวอย่างให้ความคิดเห็นต่อแนวทางการเทียบระดับการศึกษาฯ ใกล้เคียงกัน ความคิดเห็นที่สำคัญ ได้แก่ ด้านการดำเนินงานเทียบระดับควรสร้างความเข้าใจร่วมกันของคณะทำงาน ด้านการประเมินการเทียบระดับการศึกษาควรให้มีการสัมมนา/อบรม ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบ และครูที่ปรึกษา และ (3) แนวทางการเทียบระดับการศึกษาในระดับสูงสุดของการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ได้จากการวิจัยประกอบด้วย 11 ด้านคือ (3.1) การประชาสัมพันธ์ (3.2) การแนะแนว (3.3) การรับสมัครและลงทะเบียน (3.4) การปฐมนิเทศ (3.5) การดำเนินงานเทียบระดับการศึกษา (3.6) การประเมินเทียบระดับการศึกษา (3.7) การวางแผนการเรียนรู้ (3.8) ครูที่ปรึกษา (3.9) การวัดผลประเมินผล (3.10) เกณฑ์การจบการศึกษา และ (3.11) หลักสูตรการศึกษา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9359
Appears in Collections:Edu-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
156532.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.73 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons