กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/935
ชื่อเรื่อง: บทบาทของตำรวจต่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The role of the police in resolving political conflicts in Hang Dong District, Chiang Mai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฐปนรรต พรหมอินทร์
เจษฎา พันธุ์แก้ว, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
ตำรวจ -- ไทย
ความขัดแย้งทางการเมือง
ตำรวจ -- กิจกรรมทางการเมือง
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) บทบาทของตำรวจในการดำเนินการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (2) ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองของตำรวจในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (3) วิธีการในการดำเนินการแก้ไขปัญหา ความขัดแย้งทางการเมืองของตำรวจ ในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ (4) เสนอแนะแนวทางของตำรวจในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง การศึกษานี้เป็นแบบเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร จำนวน 7 นาย ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน จำนวน 10 นาย และแกนนำประชาชนผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับ ความขัดแย้งทางการเมือง ในอำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า (1) บทบาทข้าราชการตำรวจที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทาง การเมือง โดยการจัดให้มีเวทีเจรจา มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างสันติวิธี มีการแต่งตั้งคนกลางเป็นผู้ประสานทั้งสองฝ่ายหลีกเลี่ยงการเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นในปัญหาความขัดแย้ง รับฟัง และหาแนวทางร่วมกันในการแก้ปัญหา ให้คำแนะนำและช่วยเหลือเมื่อแต่ละฝ่ายร้องขอ และมีการจัดกิจกรรมร่วมกันเป็นประจำ และสม่ำเสมอ (2) ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองที่พบคือ เกิดจากการขัดผลประโยชน์ของแต่ละกลุ่มโดยยึดถือผลประโยชน์ และความต้องการของกลุ่มตัวเองเป็นหลัก และกลุ่มผู้ขัดแย้งยึดถืออุดมคติของกลุ่มตนเองมากเกินไป ไม่เปิดใจยอมรับทัศนคติของอีกฝ่ายหนึ่ง และเกิดจากความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ความต้องการอำนาจทางการเมือง อีกทั้งเกิดจากการรับรู้ข่าวสารที่ไม่ตรงกันของประชาชน การแบ่งพรรค แบ่งพวก และความแตกต่างทางความคิดทางด้านการเมืองของประชาชน และเกิดจากการดำเนินการของผู้ที่รับผิดชอบ ไม่ได้ทำตามแบบ หรือวิธีหรือแนวทางที่กำหนดไว้ (3) การดำเนินการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โดยจัดชุดมวลชนสัมพันธ์ออกไป ประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้แก่ประชาชนใน เรื่องการปกครองระบบประชาธิปไตย สิทธิการเลือกตั้ง จัดทำกิจกรรมร่วมกันเพื่อจะได้รับรู้ แนวคิด ทัศนคติ ความคิดเห็นของประชาชน เพื่อที่เป็นแนวทางแก้ไข ปัญหาเรื่องความขัดแย้ง (4) แนวทางในการดำเนินการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมือง พบว่า หน่วยงานของรัฐบาลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความขัดแย้ง ควรใช้การสร้างสังคมสมานฉันท์จัดการความขัดแย้งด้วยสันติวิธีและยึดมั่นในหลักมนุษยธรรม เพื่อปฏิเสธการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/935
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib140583.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons