กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9375
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานของศูนย์ข้าวชุมชนบ้านฮ็อง ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Success factors of the operation of Ban Hong Community Rice Center in Phia Ram Sub-district, Mueang Surin District, Surin Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วรรธนัย อ้นสำราญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธิดารัตน์ บุญเต็ม, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ศูนย์ข้าวชุมชนบ้านฮ้อง--การดำเนินงาน
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการทรัพยากรเกษตร --วิทยานิพนธ์
ความสำเร็จ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา 1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรศูนย์ข้าวชุมชนบ้านฮ็อง ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 2) สภาพการดำเนินงานของศูนย์ข้าวชุมชนบ้านฮ็อง ตำบลเพี้ยราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของศูนย์ข้าวชุมชนบ้านฮ็องตำบลเพี้ยราม อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพสังคมและเศรษฐกิจ ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 55 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษาตอนต้น มีประสบการณ์ทำนาเฉลี่ย 22.55 ปี เป็นสมาชิกมาแล้วเฉลี่ย 19.75 ปี อาศัยนํ้าฝนในการทำนา เป็นสมาชิกกลุ่มต่างๆ และเกือบทั้งหมดไม่มีตำแหน่งในชุมชน พื้นที่ทำนาเฉลี่ย 20.06 ไร่/ครัวเรือน ผลผลิตเฉลี่ย 371.22 กิโลกรัม/ไร่ ราคาจำหน่ายเฉลี่ย 20.27 บาท/กิโลกรัม แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.03 คน ต้นทุนการผลิตพันธุ์ข้าวเฉลี่ย 3,313.24 บาท/ไร่ 2) สภาพการดำเนินงานของศูนย์ข้าวชุมชน พบว่า กลุ่มมีการบริหารจัดการกลุ่มเป็นระบบ การจัดการแปลงพันธุ์ข้าวมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด คุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าวที่นำมาขยายเหมาะสมมากที่สุด มีการเตรียมดินก่อนปลูก มีการตากเมล็ด มีการตัดพันธุ์ปน มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม มีแปลงเรียนรู้ จำนวน 12 แปลง จำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยกลุ่ม มีถุงบรรจุพันธุ์ข้าว และมีวิธีการเก็บรักษา มีตลาดภายในและภายนอกชุมชน กองทุนมีการบริหารอย่างเป็นระบบ และสามารถตรวจสอบได้ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานของศูนย์ฯประกอบด้วย ปัจจัยภายใน ได้แก่ ด้านผู้นำ สมาชิก กลุ่มการบริหารจัดการกลุ่ม ด้านกองทุนหมุนเวียน การเรียนรู้ การคัดเลือกพื้นที่ทำแปลงเมล็ดพันธุ์ข้าว และการกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าว ส่วนปัจจัยภายนอกได้แก่ ด้านนโยบายด้านการเกษตรของรัฐ การได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐ สภาพแวดล้อม การตลาด และปัจจัยการผลิต
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการทรัพยากรเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9375
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons