กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9377
ชื่อเรื่อง: การจัดการระบบวนเกษตรของเกษตรกรต้นแบบในโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ของนายเหรียญ คำแคว่น จังหวัดน่าน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Agroforestry system management of the role model farmer in the income generating reforestation project of Mr.Rian Kamkwaen, Nan Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรรธนัย อ้นสาราญ, อาจารย์ที่ปรึกษา.
สัจจา บรรจงศิริ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุธิดา มณีอเนกคุณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทรงศิลป์ บุญทองโท, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการการเกษตร --วิทยานิพนธ์
ระบบวนเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ข้อมูลพื้นฐานของเกษตรกรต้นแบบ 2) การจัดการทรัพยากร กระบวนการผลิตและการตลาด 3) ปัญหาและการจัดการการผลิตและการตลาด และ 4) ปัจจัยความสำเร็จ ในการจัดการการผลิตและการตลาด ของนายเหรียญ คำแคว่น ซึ่งเป็นเกษตรกรต้นแบบในโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ ผลการวิจัยพบว่า 1) นายเหรียญ คำแคว่น อายุ 57 ปี มีพื้นที่ถือครองทั้งสิ้น 43.10 ไร่ แบ่งเป็นพื้นที่อนุรักษ์ ป่าต้นน้าลำธาร 28.10 ไร่ และพื้นที่ทำการเกษตรแบบระบบวนเกษตร 15 ไร่ มีรายได้หลักในครัวเรือนจากแปลงเกษตรเฉลี่ย 75,000 – 80,000 บาทต่อปี และเป็นเกษตรกรต้นแบบในโครงการสร้างป่าสร้างรายได้ จังหวัดน่าน 2) การจัดการทรัพยากร กระบวนการผลิตและการตลาด สามารถสร้างรายได้อย่างพอเพียง โดยการเลือกชนิดไม้และพืชปลูกจะคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ของเนื้อไม้ เช่น สัก ประดู่ พะยูง การให้ผลผลิตเพื่อกิน ขาย และประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ เช่น ต๋าว หวาย มะขม มะขามป้อม ไม้ผล ชาอัสสัม (เมี่ยง) และสมุนไพร และการรักษาระบบนิเวศ มีการปลูกพืชในลักษณะ 4 ชั้นเรือนยอด ลดต้นทุนการผลิตโดยใช้เศษเหลือจากพืชและมูลสัตว์เพื่อผลิตปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักปรับปรุงบำรุงดิน จำหน่ายผลผลิต ทั้งในรูปแบบสดและแปรรูป เช่น ต๋าวสด ต๋าวเชื่อมและเมี่ยง ตลาดเป้าหมาย คือ ตลาดในห้างสรรพสินค้า ตลาดสดอำเภอ สหกรณ์ฯ ตลาดสดชุมชน และร้านค้าหน้าบ้าน โดยวางแผนกลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาด คือ (1) สินค้ามีคุณภาพ สดใหม่ (2) ราคาสมเหตุสมผล ตามคุณภาพสินค้าและต้นทุน (3) การจัดจำหน่ายด้วยตนเองเป็นหลัก (4) การประชาสัมพันธ์แบบสื่อสารทางตรงและบอกต่อ 3) ปัญหาและการจัดการ พบว่ามีปัญหาด้านดิน แรงงาน และการปลูกพืชร่วม ไม่พบปัญหาด้านการตลาด 4) ปัจจัยความสำเร็จ พบว่า (1) ปัจจัยภายใน ได้แก่ ตัวเกษตรกร ทรัพยากร ราคาสินค้า และการคมนาคมขนส่ง (2) ปัจจัยภายนอก ได้แก่ การสนับสนุนและการได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภาครัฐและชุมชน สภาพภูมิอากาศ และปริมาณน้ำ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการการเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9377
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม23.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons