กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9380
ชื่อเรื่อง: การจัดการการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรแปลงใหญ่ในอำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Maize production management of collaborative farmers, Si Rattana District, Si Sa Ket Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จรรยา สิงห์คำ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วนาลัย วิริยะสุธี, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุญญาพร รักษาวงษ์, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการจัดการทรัพยากรเกษตร --วิทยานิพนธ์
ข้าวโพด
อาหารสัตว์จากข้าวโพด
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การจัดการการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรแปลงใหญ่ 2) ปัญหาและข้อเสนอแนะการจัดการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกร และ 3) แนวทางการพัฒนาการจัดการการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของเกษตรกรแปลงใหญ่อำเภอศรีรัตนะ จังหวัดศรีสะเกษ ผลการวิจัยพบว่า 1) พื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่มนํ้าไม่ท่วมขัง เตรียมดินโดยการไถดะและไถแปร พันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่นิยมปลูกส่วนใหญ่ คือ พันธุ์แปซิฟิก 789 ระยะปลูก 50×25 เซนติเมตร จำนวน 1 ต้นต่อหลุม เกษตรกรใช้นํ้าบาดาล และมีการใส่ปุ๋ยเคมี 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 เป็นปุ๋ยรองพื้นพร้อมปลูก และครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยแต่งหน้า เมื่อข้าวโพดอายุเฉลี่ย 31.98 วัน เกษตรกรมีการสำรวจศัตรูพืชภายในแปลง การเก็บเกี่ยวผลผลิตส่วนใหญ่ใช้เครื่องเกี่ยวนวดข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และกะเทาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ทันทีหลังการเก็บเกี่ยว เกษตรกรมีต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 4,210 บาทต่อไร่ ราคาขายผลผลิตเฉลี่ย 7.50 บาทต่อกิโลกรัม ผลผลิตเฉลี่ย 1,291 กิโลกรัมต่อไร่ และมีกำไรจากการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เฉลี่ย 5,472.50 บาทต่อไร่ 2) ปัญหาในการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ คือ ปัจจัยการผลิต และราคาจำหน่ายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้อเสนอแนะของเกษตรกร คือ เกษตรกรควรมีการรวมกลุ่ม และสร้างเครือข่ายในการจัดการปัจจัยการผลิต ภาครัฐควรจัดทำโครงการประกันรายได้ เพื่อลดการกดราคาจากพ่อค้าคนกลาง 3) แนวทางการพัฒนาการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พบว่า ด้านกลยุทธ์เชิงรุก คือ การส่งเสริมวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านการผลิต เพื่อลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มมูลค่าในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ด้านกลยุทธ์เชิงแก้ไข คือ การถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งระบบในด้านการผลิต และสนับสนุนเกษตรกรรุ่นใหม่ให้เข้ามาสานต่ออาชีพการเกษตร ด้านกลยุทธ์เชิงป้องกัน คือ การเฝ้าระวังและการสร้างระบบการตัดวงจรการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืช เพื่อลดต้นทุนการผลิต และด้านกลยุทธ์เชิงรับ คือ การจัดฝึกอบรมด้านการจัดการดิน การจัดการศัตรูพืช การตลาด การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างเกษตรกร ภาครัฐ และผู้ประกอบการให้เกิดความเชื่อมโยงกัน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (การจัดการทรัพยากรเกษตร)) -- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9380
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons