กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9385
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์และทักษะการตัดสินใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดรังสิตาวาส จังหวัดยะลา โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการสืบเสาะแบบผสมผสานการโต้แย้ง เรื่อง ระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Development of scientific argumentation ability and decision making skill of Mathayom Suksa III student of Wat Rungsitawas Schools in Yala Province using the argument-based inquiry approach in the topic of Ecology System, Environment and Natural Resources |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จุฬารัตน์ ธรรมประทีป ดวงเดือน สุวรรณจินดา มาศสุภา รัตนไทรงาม, 2527- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ดวงเดือน สุวรรณจินดา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษา -- วิทยานิพนธ์ การเรียนรู้แบบผสมผสาน การเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดรังสิตาวาส โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการสืบเสาะแบบผสมผสานการโต้แย้ง เรื่อง ระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ (2) พัฒนาทักษะการตัดสินใจ ของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดรังสิตาวาส โดยการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการสืบเสาะแบบผสมผสานการโต้แย้ง เรื่อง ระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ และ (3) ศึกษาแนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการสืบเสาะแบบผสมผสานการโต้แย้ง กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดรังสิตาวาส ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 7 คน ได้กลุ่มตัวอย่างมาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการสืบเสาะแบบผสมผสานการโต้แย้ง เรื่อง ระบบนิเวศ สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ แบบวัด ความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์ และแบบวัดทักษะการตัดสินใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยปรากฏว่า หลังจากการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการสืบเสาะแบบผสมผสานการโต้แย้ง (1) นักเรียนมีความสามารถในการโต้แย้ง เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะการยกข้อกล่าวอ้าง การให้เหตุผลสนับสนุน การนำหลักฐานมาสนับสนุนเหตุผลที่กล่าวอ้าง การเสนอข้อโต้แย้งที่ต่างออกไป และการให้เหตุผลสนับสนุนการโต้แย้งกลับ (2) นักเรียนทุกคน มีทักษะการตัดสินใจเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการระบุปัญหา การกำหนดทางเลือก การประเมินทางเลือกการจัดอันดับทางเลือก และการตัดสินใจเลือก และ (3) แนวปฏิบัติที่ดีในการจัดการเรียนรู้ตามแนวทางการสืบเสาะแบบผสมผสานการโต้แย้ง มีดังนี้ (3.1) ประเด็นการโต้แย้งที่เป็นเรื่องในชุมชนและสังคมของนักเรียนสามารถเร้าความสนใจในการเรียนรู้และการทำกิจกรรมโต้แย้งของนักเรียนได้ดี (3.2) การให้นักเรียนรับรู้ความก้าวหน้าทาง การเรียนของตนเองอย่างสม่ำเสมอ มีผลต่อการพัฒนาความสามารถในการโต้แย้งทางวิทยาศาสตร์และทักษะการตัดสินใจของนักเรียน (3.3) ครูมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นให้นักเรียนเห็นความสำคัญของการใช้หลักฐานและการให้เหตุผลเพื่อสนับสนุนข้อกล่าวอ้าง และ (3.4) การจัดกลุ่มนักเรียนแบบคละความสามารถ ส่งเสริมให้นักเรียนมีความรับผิดชอบในการทำงานมากขึ้น ร่วมกันแก้ปัญหา สร้างความเชื่อมั่น เห็นคุณค่า เกิดความภาคภูมิใจในตนเอง ส่งผลดีในการทำกิจกรรมโต้แย้ง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (วิทยาศาสตร์ศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2561 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9385 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Edu-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
159883.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.86 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License