กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9391
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบวัดความสามารถด้านการคำนวณระหว่างนักเรียนชายกับนักเรียนหญิงของการทดสอบระดับชาติ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Differential item functioning analysis of national numeracy ability test between male and female students
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นลินี ณ นคร, อาจารย์ที่ปรึกษา
สังวรณ์ งัดกระโทก, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภาภรณ์ อ้นที, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
ความสามารถทางคณิตศาสตร์ -- การทดสอบ
การวัดผลทางการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบวัด ความสามารถด้านการคำนวณระหว่างนักเรียนชายและนักเรียนหญิงของการทดสอบระดับชาติ (2) เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของข้อสอบวัดความสามารถด้านการคำนวณของการทดสอบระดับชาติที่ทำ หน้าที่ต่างกัน กลุ่มประชากรคือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3 ปี การศึกษา 2557 จำนวน 464,532 คน เป็นเพศชาย 224,615 คน เป็นเพศหญิง 239,917 คน เครื่องมือและข้อมูลที่ใช้ในการ วิจัย คือ ข้อสอบ และผลการสอบวัดความสามารถด้านการคำนวณ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2557 จำนวน 27 ข้อ วิเคราะห์ค่าสถิติ พื้นฐาน หาค่าดัชนีการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบด้วยวิธีถดถอยโลจิสติก ตรวจสอบขนาดอิทธิพล การทำหน้าที่ต่างกัน และ วิเคราะห์สาเหตุของข้อสอบ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ การทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบวัดความสามารถด้านการคำนวณระหว่างนักเรียนชาย และนักเรียนหญิงของการทดสอบระดับชาติ จำนวน 27 ข้อ ด้วยวิธีโลจิสติก พบข้อสอบที่ทำหน้าที่ ต่างกันแบบเอกรูป จำนวน 5 ข้อ และข้อสอบที่ทำหน้าที่ต่างกันแบบอเนกรูป จำนวน 22 ข้อ โดยขนาดอิทธิพลการทำหน้าที่ต่างกันของข้อสอบ พบว่า ขนาดของการทำหน้าที่ต่างกันขนาดเล็ก มาก ทั้ง 27 ข้อ ซึ่งแสดงว่าข้อสอบวัดความสามารถด้านการคำนวณฉบับนี้มีคุณภาพด้านความตรง ในประเด็นด้านความยุติธรรมต่อผู้สอบที่มีเพศแตกต่างกันจากผลการตรวจสอบการทำหน้าที่ ต่างกันของแบบทดสอบวัดความสามารถด้านคำนวณของการทดสอบระดับชาติ สาเหตุของข้อสอบวัดความสามารถด้านการคำนวณของการทดสอบระดับชาติที่ทำหน้าที่ต่างกันมีขนาดเล็กมาก และนักเรียนชายจะมีโอกาสในการตอบข้อสอบถูกในฉบับนี้มากกว่า นักเรียนหญิง เนื่องจากนักเรียนชายจะมีความสนใจเนื้อเรื่องที่เกี่ยวกับ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ การทดลอง เครื่องยนต์ การผจญภัย กีฬา การต่อสู้ ดังนั้นการออกข้อสอบที่อยู่ในความสนใจของ เพศชาย เพศชายจะมีโอกาสในการตอบ ข้อสอบเหล่านั้นมากกว่าเพศหญิง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9391
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
162214.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons