กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9450
ชื่อเรื่อง: ผลการใช้โปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคมของวัยรุ่นตอนปลายในความอุปถัมภ์ของมูลนิธิพันธกิจแห่งพระคุณในประเทศไทย จังหวัดบุรีรัมย์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The effect of using an integrated group counseling program to develop social intelligence of late adolescents under Thailand Grace Ministry Foundation in Buri Ram Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นิรนาท แสนสา, อาจารย์ที่ปรึกษา
นงเยาว์ ประดับ, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา--การศึกษาเฉพาะกรณี
การให้คำปรึกษาแบบกลุ่มสำหรับวัยรุ่น
การศึกษาอิสระ--การแนะแนวและการปรึกษาเชิงจิตวิทยา
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบความฉลาดทางสังคมของวัยรุ่นตอนปลายในความอุปถัมภ์ของมูลนิธิพันธกิจแห่งพระคุณในประเทศไทย จังหวัดบุรีรัมย์ ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ และ (2) เปรียบเทียบความฉลาดทางสังคมของวัยรุ่นตอนปลาย ระหว่างกลุ่มทดลองที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการกับกลุ่มควบคุมที่ได้รับคําแนะนําแบบปกติ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ วัยรุ่นตอนปลายที่มีอายุ 16-18 ปี ซึ่งอยู่ในความอุปถัมภ์ของมูลนิธิพันธกิจแห่งพระคุณในประเทศไทย จังหวัดบุรีรัมย์ ปีพ.ศ. 2564 ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจงจากผู้ทำแบบวัดความฉลาดทางสังคมที่มีคะแนนต่ำ จํานวน 16 คน แล้วสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลากเป็นกลุ่มทดลอง และกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 8 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ (1) โปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาความฉลาดทางสังคม (2) แบบวัดความฉลาดทางสังคมที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ .91 และ (3) การให้คำแนะนำแบบปกติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบวิลคอกซัน และทดสอบแมนนวิทนีย์ ยู ผลการวิจัยปรากฏว่า (1) ภายหลังการทดลอง วัยรุ่นตอนปลายในความอุปถัมภ์ของมูลนิธิพันธกิจแห่งพระคุณในประเทศไทย จังหวัดบุรีรัมย์ ที่ได้รับโปรแกรมการปรึกษากลุ่มแบบบูรณาการ มีคะแนนความฉลาดทางสังคมสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (2) ภายหลังการทดลอง คะแนนความฉลาดทางสังคมของวัยรุ่นกลุ่มทดลองสูงกว่าของกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9450
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม22.51 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons