กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9455
ชื่อเรื่อง: คุณภาพการให้บริการประชาชนของโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ในพื้นที่อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Quality of service of Mobile Public Service Project in Lam Thap District area, Krabi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปภาวดี มนตรีวัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
จินตนา จันทร์แจ่ม ศรีประเทศ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
โครงการจังหวัดเคลื่อนที่
บริการสาธารณะ--ไทย--กระบี่
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาคุณภาพการให้บริการประชาชนของโครงการจังหวัด เคลื่อนที่ ในพื้นที่อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนเกี่ ยวกับคุณภาพ การให้บริการประชาชน ของโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ ในพื้นที่อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ จำแนกตามปัจจัยส่วน บุคคล (3) ศึกษาปัญหาในการบริการประชาชนของโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ ในพื้นที่อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ (4) ศึกษาแนวทางในการปรับปรุงการดำเนินงานการบริการประชาชน ของโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ ในพื้นที่ อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ ประชาชนผู้มารับบริการตามโครงการงจังหวัดกระบี่ในเขตพื้นที่ อำเภอลำทับ จำนวน 550 คน กลุ่มตัวอย่าง 231 คน คำนวณจากสูตรของทาโร ยามาเน่ สุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ และการทดสอบผลต่างด้วยค่านัยสำคัญต่ำสุด ผลการศึกษาพบว่า (1) คุณภาพการให้บริการประชาชน ของโครงการจังหวัดเคลื่อนที่ ในพื้นที่ อำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) เมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชน จำแนก ตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่าประชาชนที่มีอายุ ระดับการศึกษา และอาชีพแตกต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (3) ปัญหาที่พบมากที่สุดได้แก่ปัญหาด้านกระบวนการบริการ โดยเฉพาะ การที่ต้องรอรับบริการรองลงมาได้แก่ ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ โดยเฉพาะด้านความเพียงพอของเจ้าหน้าที่ (4) ข้อเสนอแนะด้านกระบวนการบริการ ควรจัดให้มีอุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัยอยางเพียงพอเพื่อให้บริการ ได้อย่างรวดเร็ว และ ควรมีบัตรคิวในการขอรับบริการ มีช่องทางด่วนสำหรับผู้ใช้บริการลักษณะพิเศษเช่น พระ คนพิการ หญิงมีครรภ์ คนชรา ควรมีป้ายประชาสัมพันธ์ที่มีความชัดเจนและเข้าใจง่าย รวมทั้งกล่องแสดง ความคิดเห็น ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ควรเพิ่มอัตรากำลังให้เพียงพอต่อการบริการ โดยคำนึงถึงจำนวน ผู้รับบริการในแต่ละช่วงเวลา และควรพัฒนาเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานให้มีจิตสำนึกและจิตวิญญาณในการให้บริการ ที่ดีตลอดจนความรู้ในด้านกฎหมาย ระเบียบ เพื่อสามารถปรับทัศนคติให้เหมาะสมกับการให้บริการประชาชน อันจะนำไปสู่การเพิ่มคุณภาพด้านการบริการแก่ประชาชน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9455
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
140225.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons