Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9456
Title: | พฤติกรรมการออมส่วนบุคคลของบุคลากรในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข |
Other Titles: | Individual saving behavior of personnel of the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health |
Authors: | วสุ สุวรรณวิหค สิรินันท์ พานพิศ, 2525- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข--ข้าราชการและพนักงาน--การเงินส่วนบุคคล การออมกับการลงทุน การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์ |
Issue Date: | 2563 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมและรูปแบบการออมส่วนบุคคลของบุคลากรในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจำนวนเงินออมส่วนบุคคลของบุคลากรในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ แบบสอบถามโดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจำในสังกัดหน่วยงานส่วนกลางของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวนทั้งสิ้น 346 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายตามสัดส่วนประชากร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีจำนวนเงินออมต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน มีสัดส่วนเงินออมต่อรายได้อยู่ระหว่างร้อยละ 10-30 โดยส่วนใหญ่เป็นการออมเงินในสถาบันการเงิน และมีจุดมุ่งหมายของการออมเพื่อใช้ในยามเจ็บป่วย/ยามชราคิดเป็นสัดส่วนมากที่สุด 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจำนวนเงินออมส่วนบุคคล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ ระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่เป็นรายได้จากงานประจำ และรายได้จากงานพิเศษ ภาระหนี้สินเพื่อการอุปโภคบริโภคที่ต้องชำระต่อเดือน และหนี้สินจากการซื้อทรัพย์สิน ส่วนปัจจัยที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ตำแหน่งงานที่เป็นข้าราชการระดับสูง สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสัดส่วนเงินออมต่อรายได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่ไม่มีรายได้ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่เป็นรายได้จากงานประจำ ภาระหนี้สินเพื่อการอุปโภคบริโภคที่ต้องชำระต่อเดือน และหนี้สินจากการซื้อทรัพย์สิน ส่วนปัจจัยที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ จำนวนสมาชิกในครอบครัว ตำแหน่งงานที่เป็นพนักงานราชการและลูกจ้างประจำ |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9456 |
Appears in Collections: | Econ-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.54 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License