กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9456
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการออมส่วนบุคคลของบุคลากรในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Individual saving behavior of personnel of the Office of the Permanent Secretary, Ministry of Public Health
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วสุ สุวรรณวิหค, อาจารย์ที่ปรึกษา
สิรินันท์ พานพิศ, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกเศรษฐศาสตร์--การศึกษาเฉพาะกรณี
สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข--ข้าราชการและพนักงาน--การเงินส่วนบุคคล
การออมกับการลงทุน
การศึกษาอิสระ--เศรษฐศาสตร์
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมและรูปแบบการออมส่วนบุคคลของบุคลากรในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจำนวนเงินออมส่วนบุคคลของบุคลากรในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัย คือ แบบสอบถามโดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้างประจำในสังกัดหน่วยงานส่วนกลางของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวนทั้งสิ้น 346 ตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายตามสัดส่วนประชากร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรต่าง ๆ โดยใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีจำนวนเงินออมต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือน มีสัดส่วนเงินออมต่อรายได้อยู่ระหว่างร้อยละ 10-30 โดยส่วนใหญ่เป็นการออมเงินในสถาบันการเงิน และมีจุดมุ่งหมายของการออมเพื่อใช้ในยามเจ็บป่วย/ยามชราคิดเป็นสัดส่วนมากที่สุด 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อจำนวนเงินออมส่วนบุคคล อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ ระดับการศึกษาปริญญาตรี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่เป็นรายได้จากงานประจำ และรายได้จากงานพิเศษ ภาระหนี้สินเพื่อการอุปโภคบริโภคที่ต้องชำระต่อเดือน และหนี้สินจากการซื้อทรัพย์สิน ส่วนปัจจัยที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ตำแหน่งงานที่เป็นข้าราชการระดับสูง สำหรับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสัดส่วนเงินออมต่อรายได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ได้แก่ อายุ ระดับการศึกษาปริญญาตรี จำนวนสมาชิกในครอบครัวที่ไม่มีรายได้ รายได้เฉลี่ยต่อเดือนที่เป็นรายได้จากงานประจำ ภาระหนี้สินเพื่อการอุปโภคบริโภคที่ต้องชำระต่อเดือน และหนี้สินจากการซื้อทรัพย์สิน ส่วนปัจจัยที่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ จำนวนสมาชิกในครอบครัว ตำแหน่งงานที่เป็นพนักงานราชการและลูกจ้างประจำ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9456
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Econ-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.54 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons