กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9465
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมในการซื้อไม้ดอกไม้ประดับ ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา กรณีศึกษา : ผู้บริโภคในตลาดกลางไม้ดอกไม้ประดับโคกกรวด (เศรษฐีการ์เด้น)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Behavior of buying flowering and ornamental plants in Nakhon Ratchasima District, Nakhon Ratchasima Province : a case study of consumers in Khok Kruat Flowering and Ornamental Plant Central Market (Setthi Garden)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นาลัน แป้นปลื้ม
ปุณญิศา ยุทธวงษ์สุข, 2514-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกการจัดการทรัพยากรเกษตร--การศึกษาเฉพาะกรณี
ไม้ดอก--การจัดซื้อ
ไม้ประดับ--การจัดซื้อ
การศึกษาอิสระ--การจัดการทรัพยากรเกษตร
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางวัฒนธรรม ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางจิตวิทยา และปัจจัยส่วนประสมการตลาดของผู้บริโภค ในอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ณ ตลาดกลางไม้ดอกไม้ประดับโคกกรวด (เศรษฐีการ์เด้น) 2) พฤติกรรมในการซื้อไม้ดอกไม้ประดับของผู้บริโภค 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางวัฒนธรรม ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางจิตวิทยา และปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับพฤติกรรมในการซื้อไม้ดอกไม้ประดับ การศึกษาค้นคว้าอิสระฉบับนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ ผู้บริโภคไม้ดอกไม้ประดับ ณ ตลาดกลางไม้ดอกไม้ประดับโคกกรวด (เศรษฐีการ์เด้น) ซึ่งประชากรมีขนาดใหญ่และไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่นอน โดยคำนวณจากสูตรไม่ทราบขนาดตัวอย่างของ W.G. Cochran โดยกำหนดระดับค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และระดับค่าความคลาดเคลื่อน 0.05 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้จำนวน 400 คน ใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบสะดวก โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ การหาค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบไคสแควร์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ผู้บริโภคกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 30-39 ปี สถานภาพสมรส การศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัท มีรายได้ต่อเดือน 20,001-30,000 บาท 2) พฤติกรรมในการซื้อไม้ดอกไม้ประดับของผู้บริโภค ส่วนใหญ่เลือกซื้อไม้ดอกไม้ประดับแบบกระถาง ในรอบ 1 เดือนซื้อ 1-5 ครั้ง มักไปซื้อวันเสาร์ ตั้งแต่เวลา 16.00 น. ใช้เวลาซื้อ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ซื้อต่อครั้ง 500 – 1,000 บาท 3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ปัจจัยทางวัฒนธรรม ปัจจัยทางสังคม ปัจจัยทางจิตวิทยา และปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับพฤติกรรมในการซื้อไม้ดอกไม้ประดับส่วนใหญ่สัมพันธ์กัน ยกเว้นปัจจัยส่วนประสมการตลาดด้านการส่งเสริมการตลาดไม่สัมพันธ์กับพฤติกรรมในการซื้อไม้ดอกไม้ประดับ ดังประเด็นต่อไปนี้ ได้แก่ มีบริการชำระเงินได้หลายรูปแบบทั้งเงินสดสแกนจ่ายผ่านแอปพิเคชั่นธนาคารต่าง ๆ และบัตรเครดิตไม่สัมพันธ์กับความถี่ในการซื้อในรอบ 1 เดือน (มิ.ย.2565) (χ2= 9.31, p<0.5) ระยะเวลาที่ใช้ในการซื้อไม้ดอก ไม้ประดับ (χ2= 10.87, p<0.5) มักจะไปซื้อไม้ดอกไม้ประดับกับใคร(χ2= 8.76, p<0.5), บุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อไม้ดอกไม้ประดับ(χ2= 10.71, p<0.5), ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการซื้อไม้ดอกไม้ประดับต่อครั้ง (χ2= 16.26, p<0.5)
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9465
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.06 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons