กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9471
ชื่อเรื่อง: การบริหารความเสี่ยงของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Risk management of Trang Provincial Health Office
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จีระ ประทีป, อาจารย์ที่ปรึกษา
จารุณี พงค์เพชร
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การบริหารความเสี่ยง
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความเสี่ยงของสำนักงานสาธารณสุข จังหวัดตรัง ใน 4 ด้าน คือ ด้านกลยุทธ์ ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการเงิน ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ และ (2) เสนอแนวทางพัฒนาในการบริหารความเสี่ยงของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านกลยุทธ์ ด้านการปฏิบัติงาน ด้านการเงิน ด้านการปฏิบัติตามกฎระเบียบ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิจัยเอกสาร แบบประเมินความเสี่ยง การสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้บริหาร ผู้เกี่ยวข้อง ที่ปฏิบัติงานด้านยุทธศาสตร์ ด้านการเงินและบัญชี ด้านบุคลากร ด้านพัสดุ และคณะกรรมการ ควบคุมภายในและบริหารความเสี่ยง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา โดยการ วิเคราะห์สรุปข้อมูลที่ได้จากแบบประเมินความเสี่ยง การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่ม ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความเสี่ยงของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรังด้านกลยุทธ์ ที่เป็นความเสี่ยงระดับสูง ได้แก่ การกำหนดเป้าหมายและผลสำเร็จตามตัวชี้วัดไม่สามารถนำไป ปฏิบัติได้จริง ด้านการปฏิบัติงาน ได้แก่ การวิเคราะห์ความเสี่ยงกระทบกระบวนการทำงานเพื่อ พัฒนางานไม่ต่อเนื่อง ด้านการเงิน เป็นความเสี่ยงระดับสูงมากได้แก่ งบประมาณรายจ่ายประจำปี ใช้จ่ายไม่ทันในปี งบประมาณ ความเสี่ยงระดับสูงได้แก่ แผนการใช้เงินไม่เป็นปัจจุบันหรือไม่จัดทำ ตามแผน การเบิกจ่ายเงินล่าช้า/ไม่เป็นไปตามแผน ด้านการปฏิบัติตามกฏระเบียบ เป็นความเสี่ยง ระดับปานกลาง ได้แก่ เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมาย ข้อบังคับในการปฏิบัติงาน และ (2) แนวทางที่เสนอเพื่อบริหารความเสี่ยง ได้แก่ ควรแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง เพื่อพิจารณากำหนดนโยบายการบริหารความเสี่ยง รวมทั้งส่งเสริม สนับสนุน ตรวจสอบ ติดตาม การปฏิบัติงาน ควรให้ความสำคัญกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ และกำกับติดตามประเมินผลการ ปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่อง ควรมีการจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน เพื่อให้การดำเนินงานของสำนักงาน สาธารณสุขจังหวัดตรังเกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9471
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
140968.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.1 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons