กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9476
ชื่อเรื่อง: อิทธิพลการประชาสัมพันธ์ที่มีต่อการตอบสนองในการเข้าศึกษาต่อของผู้เรียนในระดับบัณฑิตศึกษา : กรณีศึกษาโครงการทักษะวิศวกรรมเคมีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Influence of public relation towards the decision to study in the chemical engineering practice School Program at Monhkut's University of Technology Thonburi
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ภูริพัฒน์ ชาญกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชฎาพร ดำมุณี, 2515-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
วิศวกรรมเคมี--การศึกษาต่อ--การประชาสัมพันธ์
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์โครงการทักษะวิศวกรรมเคมีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 2) เปรียบเทียบปัจจัยการประชาสัมพันธ์โครงการทักษะวิศวกรรมเคมีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล และ 3) ปัจจัยการประชาสัมพันธ์ที่มีอิทธิพลต่อการตอบสนองในการเข้าศึกษาต่อของผู้เรียนในระดับบัณฑิตศึกษา โครงการทักษะวิศวกรรมเคมีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษานี้ คือ นักศึกษาที่กำลังศึกษาชั้นปีที่ 4 ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีและผู้ที่จบการศึกษาในโครงการทักษะวิศวกรรมเคมีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี รวมทั้งหมด 3,583 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการศึกษา พบว่า 1) ผู้เรียนมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์โครงการทักษะวิศวกรรมเคมีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรีโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ผู้เรียนที่มีเพศ และประเภทสถาบันที่ศึกษาที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการประชาสัมพันธ์โครงการทักษะวิศวกรรมเคมีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนผู้เรียนที่มีอายุ เกรดเฉลี่ยภูมิลำเนาของผู้ศึกษา และแหล่งเงินทุนที่ใช้ในศึกษาที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการประชาสัมพันธ์โครงการทักษะวิศวกรรมเคมีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ไม่แตกต่างกัน และ 3) ปัจจัยการประชาสัมพันธ์ด้านการใช้สื่อเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ขององค์การ มีอิทธิพลทางบวกต่อการตอบสนองในการเข้าศึกษาต่อของผู้เรียนในระดับบัณฑิตศึกษาโครงการทักษะวิศวกรรมเคมีของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี คิดเป็นร้อยละ 86.90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9476
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons