กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9480
ชื่อเรื่อง: การบริหารยุทธศาสตร์โดยยึดหลักนิติกรรม: กรณีศึกษาสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสาคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Stratery administrationin accordance with the rule of law principle: a case study of the office of culture of Samutsakhon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จําเนียร ราชแพทยาคม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทัศนัย จันทโนทัย
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสาคร--การบริหาร
หลักนิติธรรม
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพการบริหารยุทธศาสตร์โดยยึดหลักนิติธรรมของ สํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสาคร และ (2) ระบุปัญหา ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาการบริหาร ยุทธศาสตร์โดยยึดหลักนิติธรรมของสํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสาคร การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องทั้งข้อมูล ปฐมภูมิข้อมูลทุติยภูมิ และจากการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยเครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง กลุ่ม ตัวอย่างในการสัมภาษณ์เชิงลึกมีจํานวน 5 คน สุ่มตัวอย่างโดยการเจาะจงตําแหน่ง ประกอบด้วย ผู้บริหารของ สํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสาคร 1 คนและบุคลากรของสํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสาคร อีก4 คน ผลการศึกษา พบว่า (1) สภาพของการบริหารยุทธศาสตร์โดยยึดหลักนิติธรรม พบว่า มีการนําหลัก นิติธรรมมาใช้ในการกำหนดและบริหารยุทธศาสตร์ของสํานักงานวัฒนธรรม ได้แก่ ก) การบัญญัติกฎหมายและการให้อํานาจในการดําเนินการตามกฎหมายนั้น ข) การทบทวนกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และแนวทางการดําเนินงานที่เกี่ยวข้อง ค) การแต่งตั้งคณะทํางาน ง) ใช้หลักความเสมอภาค และความเที่ยงธรรม โดยให้สิทธิ เสรีภาพแก่ประชาชนในการแสดงอัตลักษณ์ของตนและการเข้าร่วมกิจกรรมอย่างเท่าเทียมกัน จ) จัดเผยแพร่ข้อมูล ผ่านทางช่องต่างๆ ให้แก่ประชาชนและเครือข่ายทางวัฒนธรรม ฉ) การแต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองการ ดําเนินงานตามพระราชบัญญัติต่างๆ การบังคับใช้กฎหมาย ช) การรับฟังข้อร้องเรียน และรับฟังความคิดเห็นที่ อาจมีผลกระทบต่อกฎ ระเบียบ ข้อบังคับนั้นๆ และนําข้อร้องเรียน ความคิดเห็นต่างๆ ไปดําเนินการภายใต้กรอบ ของกฎหมายต่อไป ทั้งนี้ได้มีการยกตัวอย่างการดําเนินงานตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ.2551 ซึ่งเป็นกรอบบทบัญญัติที่สําคัญของการดําเนินงานของสํานักงานวัฒนธรรมจังหวัดสมุทรสาครเพื่อให้เห็นเป็น รูปธรรมยิ่งขึ้น และ (2) 1) ปัญหาที่พบ คือ กฎหมายล้าสมัย การนํานโยบายไปปฏิบัติโดยไม่ตอบสนอง ยุทธศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารบ่อยครั้งทําให้การบริหารยุทธศาสตร์ขาดความต่อเนื่องและไม่มี ประสิทธิภาพ 2) ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนา คือ สํานักงานวัฒนธรรม จังหวัดสมุทรสาครควร ก) สร้าง ความตระหนักและส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรให้เน้นการปฏิบัติงานตามหลักนิติธรรม ข) รวบรวมเสนอปัญหาที่ เกิดขึ้นให้ผู้บริหารพิจารณาปรับปรุงแก้ไขกฎหมาย ค) การออกกฎหมายบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัด ง) การ เฝ้าระวังและสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม จ) การบูรณาการทํางานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ ฉ) ให้ ความสําคัญในการดําเนินงานตามพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2551
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9480
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
141066.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.83 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons