Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9501
Title: การส่งเสริมการจัดการกลุ่มและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ของสมาชิกกลุ่ม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม
Other Titles: Extension of group management of organic fertilizer production of members in That Phanom District, Nakhon Phanom
Authors: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พลสราญ สราญรมย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นิชาภา พนาจันทร์, 2520-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ปุ๋ยอินทรีย์--ไทย--นครพนม--การผลิต
การส่งเสริมการเกษตร--ไทย--นครพนม
Issue Date: 2564
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทางสังคม และเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) ความรู้เกี่ยวกับการจัดการกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์และการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกร 3) สภาพการจัดการกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ และสภาพการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกร 4) สภาพการส่งเสริมและความต้องการการส่งเสริมการจัดการกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ของเกษตรกร และ 5) ปัญหาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการจัดการกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรสมาชิกกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์ อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม ปี 2556-2563 กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร ยามาเน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 172 ราย สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนาได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรเกินกว่าครึ่งเป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 59.90 ปี จบประถมศึกษา มีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 3.79 คน แรงงานในครัวเรือนเฉลี่ย 2.81 คน มีประสบการณ์ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เฉลี่ย 10.45 ปี มีพื้นที่ของตนเองเฉลี่ย 10.59 ไร่ รายได้รวมในภาคการเกษตรทั้งหมดของครอบครัวในรอบปีที่ผ่านมาเฉลี่ย 159,897.09 บาท รายได้จากการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เฉลี่ย 4,720.88 บาท/ปี 2) เกษตรกรทุกราย มีความรู้ในการจัดการกลุ่มและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในระดับมากที่สุดในเกือบทุกประเด็น โดยมีส่วนน้อยที่มีความรู้เกี่ยวกับอัตราส่วนผสมสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 สำหรับทําปุ๋ยหมัก 3) เกษตรกรร้อยละ 89.5 มีการจัดการกลุ่มและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์อยู่ในระดับมากที่สุด โดยในการจัดการกลุ่มผลิตปุ๋ยอินทรีย์มีการจัดการกลุ่มด้านผู้นำและกรรมการด้านกฎระเบียบและแนวทางปฏิบัติของกลุ่ม และด้านกิจกรรมกลุ่มส่วนด้านการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ทั้งหมดมีการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้เอง มีเพียงร้อยละ 42.4 ที่ผลิตเพื่อจำหน่าย 4) เกษตรกรส่วนมากได้รับการส่งเสริมเนื้อหาความรู้ด้านกิจกรรมกลุ่ม และมีความต้องการการส่งเสริมเนื้อหาความรู้ในด้านเป้าหมายของกลุ่มเกษตรกรต้องการวิธีการส่งเสริมแบบกลุ่ม โดยการประชุมกลุ่ม ต้องการการส่งเสริมแบบรายบุคคล จากผู้นำชุมชน และต้องการการสนับสนุนปัจจัยการผลิต คือสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 5) เกษตรกรมีปัญหาในประเด็นเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่สามารถไปเยี่ยมเกษตรกร ได้ตลอดเวลา และหน่วยงานภาครัฐให้การสนับสนุน ไม่ต่อเนื่องโดยเกษตรกรมีข้อเสนอแนะให้คณะกรรมการกลุ่มควรมีการประชุมสรุปผลการดำเนินการของกลุ่มเพื่อประเมินสถานการณ์และสร้างความเชื่อมั่นให้กับสมาชิก ควรมีการจดทะเบียนกลุ่มตามกฎหมาย และควรจัดให้มีการฝึกอบรม แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเพิ่มองค์ความรู้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ให้กับสมาชิก
Description: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9501
Appears in Collections:Agri-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.92 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons