กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9507
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการผลิตขาวหอมมะลิตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guidelines of jasmine rice production according to good agricultural practices of farmers in Thawat Buri District, Roi Et Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
อภิวัฒน์ จตุรัส, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
ข้าวหอมมะลิ--มาตรฐานการผลิต
การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพทั่วไป 2) สภาพการผลิตข้าวหอมมะลิ 3) ความรู้และการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี 4) ปัญหาและข้อเสนอแนะการผลิตข้าวหอมมะลิตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ และ 5) ความต้องการการส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของเกษตรกร ประชากรที่ศึกษา คือ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนผู้ปลูกข้าวหอมมะลิและเป็นสมาชิกแปลงใหญ่แต่ยังไม่ได้การรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ปีการผลิต 2561/2562 ที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับสำนักงานเกษตรอำเภอธวัชบุรี จำนวนทั้งหมด 240 ราย กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 150 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 54.37 ปี จบประถมศึกษา ประสบการณ์ในการทำนาเฉลี่ย 22.33 ปี พื้นที่ทำนาเฉลี่ย 7.48 ไร่ ต้นทุนรวมเฉลี่ย 3,291.70 บาท/ไร่รายได้รวมจากภาคการเกษตรเฉลี่ย 85,000.00 บาท และมีหนี้สินของครัวเรือนเฉลี่ย 102,755.68 บาท 2) พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ลุ่ม ดินร่วนปนทราย อาศัยน้ำฝนในการทำนา เตรียมพื้นที่โดยการไถกลบตอซัง พันธุ์ที่ปลูกคือข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยใช้ในอัตราเฉลี่ย 19.26 กิโลกรัม/ไร่ ใช้วิธีการปลูกแบบหว่าน มีการจัดการน้ำโดยใช้แหล่งน้ำที่สะอาดไม่ปนเปื้อนสารเคมี มีวิธีการจัดการวัชพืชในแปลงนาโดยการไถพรวน ไถกลบในช่วงเตรียมดินมีวิธีการจัดการแมลงศัตรูข้าวในแปลงนา โดยใช้น้ำหมักชีวภาพ มีวิธีการจัดการศัตรูข้าวโดยใช้หุ่นไล่นก เก็บเกี่ยว โดยรถเกี่ยว และมีการจําหน่ายโดยการขายข้าวสด และมีวิธีการเก็บข้าวในกระสอบใส่ไว้ในยุ้งฉาง 3) เกษตรกรมีความรู้เกี่ยวกับการผลิตข้าวตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี โดยรวมในระดับมากที่สุดและปฏิบัติตามตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ในระดับมากโดยเก็บเกี่ยวในระยะเวลาที่เหมาะสม ใช้แหล่งน้ำที่ไม่มีการปนเปื้อนและใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรตามคําแนะนําของกรมการข้าวหรือกรมวิชาการเกษตร และคำแนะนําในฉลากที่ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง 4) เกษตรกรมีปัญหาด้านตลาดการส่งออก และเสนอให้ควรมีการส่งเสริมการแปรรูปข้าวเพื่อสร้างมูลค่าข้าว 5) เกษตรกรต้องการให้หน่วยงานรัฐส่งเสริมการตลาดและสนับสนุนงบประมาณเพื่อการลดต้นทุนการผลิต
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9507
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons