กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9511
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมการผลิตเกลือทะเลในอำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Extension guideline in sea salt production in Mueang Samut Songkhram District, Samut Songkhram Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินดา ขลิบทอง, อาจารย์ที่ปรึกษา
เฉลิมศักดิ์ ตุ้มหิรัญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
แคทลีน หอมวิเชียร, 2532-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาเกษตรศาสตร์และสหกรณ์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร--วิทยานิพนธ์
เกลือ--ไทย--สมุทรสงคราม--การผลิต
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและสภาพเศรษฐกิจของเกษตรกร 2) สภาพการผลิตเกลือทะเลตามการปฏิบัติทางเกษตรที่ดีของเกษตรกร 3) ปัญหาในการผลิตเกลือทะเลของเกษตรกร 4)ความต้องการและแนวทางส่งเสริมการผลิตเกลือทะเลของเกษตรกร ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) เกษตรกรผู้ทํานาเกลือทะเลในพื้นที่อำเภอเมืองสมุทรสงคราม จังหวัดสมุทรสงคราม จำนวน 158 ราย กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตรทาโร ยามาเน ความคลาดเคลื่อน 0.05 ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 113 ราย ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการจัดอันดับ 2) ผู้เกี่ยวข้องกับการผลิตเกลือทะเลในพื้นที่ รวม 10 ราย สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ประกอบด้วย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ประธานสหกรณ์นาเกลือทะเลจังหวัดสมุทรสงคราม ผู้นําชุมชนที่เป็นเกษตรกรนาเกลือทะเล เกษตรกรปราดเปรื่อง และเกษตรกรรุ่นใหม่เก็บข้อมูลโดยการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอก และกำหนดกลยุทธ์ ผลการวิจัยพบว่า 1) เกษตรกรเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 59.20 ปี ประสบการณ์การทํานาเกลือเฉลี่ย 29.89 ปี จบการศึกษาระดับประถมศึกษา เป็นสมาชิกสหกรณ์นาเกลือ ได้รับข้อมูลข่าวสารจากเกษตรกรด้วยกัน และการประชุมมีรายได้จากการทำนาเกลือเฉลี่ย 6,405.45 บาท/ไร่ และต้นทุนเฉลี่ย 5,253.15 บาท/ไร่ โดยค่าแรงหาบเกลือเป็นต้นทุนที่สูงที่สุด มีพื้นที่ทำนาเกลือทะเลเฉลี่ย 45.86 ไร่ ไม่มียังเก็บเกลือทะเล ผลผลิตเฉลี่ย 7.84 เกวียน/ไร่ (1 เกวียน เท่ากับ 1,920 กิโลกรัม) มีพ่อค้าคนกลางมารับ 2) เกษตรกรผลิตเกลือทะเลตามการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีในระดับมากที่สุด ยกเว้นการจัดการการล้าง/โม่บด และการบรรจุและระบบเอกสารและการบันทึกข้อมูลปฏิบัติในระดับน้อย และปานกลาง 3) เกษตรกรประสบปัญหาจากผลกระทบการนําเข้าเกลือ และราคาเกลือผันผวน 4) เกษตรกรมีความต้องการให้ส่งเสริมความรู้ โดยผ่านการอบรมหรือสาธิต ฝึกปฏิบัติ และศึกษาดูงาน จากเจ้าหน้าที่รัฐเกษตรกร และสื่ออินเตอร์เน็ตหรือแอปพลิเคชันแนวทางการส่งเสริมการผลิตเกลือทะเลของเกษตรกร ใช้กลยุทธ์เชิงรุก คือ ส่งเสริมการผลิตเกลือทะเลตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี กลยุทธ์เชิงแก้ไข คือ พัฒนาศักยภาพการผลิตของเกษตรกร กลยุทธ์เชิงป้องกัน คือ ส่งเสริมการแปรรูปเพิ่มมูลค่าผลผลิต และกลยุทธ์เชิงรับ คือ แก้ไขปัญหาราคาเกลือตกต่ำ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม.(ส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9511
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม19.02 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons