กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9528
ชื่อเรื่อง: | การสื่อสารในการป้องกันโรคระบาดโควิด 19 ของตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Communication for preventing Covid-19 at Na Thon Sub-district, Thung Wa District, Satun Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กานต์ บุญศิริ เจิน จันทะโร มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วิทยาธร ท่อแก้ว |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชานวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น--วิทยานิพนธ์ โควิด-19 (โรค)--ไทย--สตูล--การสื่อสาร |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสื่อสารในการป้องกันโรคระบาดโควิด 19 ของตำบลนาทอน อำเภอทุ่งหว้า จังหวัดสตูล เกี่ยวกับ 1) กระบวนการการสื่อสาร 2) การจัดการเครือข่ายการสื่อสาร และ 3) แนวทางการพัฒนาการสื่อสาร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรงในการสื่อสารในการป้องกันโรคระบาดโดวิด 19 รวมจํานวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งมีโครงสร้าง และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการสื่อสาร ประกอบด้วย (1) ผู้ส่งสารเป็นผู้นำด้านสุขภาพ และผู้นำชุมชน ที่มีความรู้ มีทักษะ มีความน่าเชื่อถือ และมีจิตอาสา ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุขประจําหมู่บ้าน กํานัน ผู้ใหญ่บ้าน สารวัตรกำนัน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล และบัณฑิตอาสาพิทักษ์มาตุภูมิ (2) เนื้อหาสาร ประเด็นหลักคือสถานการณ์ของโรค ลักษณะโรคกลไกการเกิดโรค การลดพฤติกรรมเสี่ยงและพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง (3) สื่อ มีการใช้สื่อแบบผสมผสาน คือ สื่อดั้งเดิม ประกอบด้วยสื่อบุคคล ป้ายโฆษณาเอกสารแผ่นพับและรถแห่ ส่วนสื่อใหม่ ประกอบด้วยเฟซบุ๊ก haton satun ของ อบต.นาทอน Line กลุ่มตามชื่อหมู่บ้าน และไลน์ "NIEMS care" (4) ผู้รับสารเป็นผู้มีส่วนได้เสีย คือ ประชาชนกลุ่มเสี่ยงประเภทต่าง ๆ ในตำบลนาทอนทุกคน (5) ผลการสื่อสาร ประชาชนถดความตระหนก ลดความสับสน และปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด 2) การจัดการเครือข่ายการสื่อสาร ประกอบด้วย (1) การผนึกกําลังคน จากที่ว่าการอำเภอทุ่งหว้า สํานักงานสาธารณสุขอำเภอ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น นักปกครองท้องที่ และภาคประชาชนจิตอาสา (2) จัดโครงสร้างการทํางานแบบบาดับชั้นจากบนลงล่าง ตั้งแต่ระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน (3) การกำหนดบทบาทหน้าที่ของเครือข่ายสื่อสาร (4) ให้ความรู้กับเครือข่ายที่เท่าทันกัน สร้างความเข้าใจตรงกันในสถานการณ์การระบาดของโรค การป้องกันโรค วิธีการคัดกรองผู้มีความเสี่ยง และกระบวนการรักษาโรค (5) จัดวัสดุอุปกรณ์ สนับสนุน การทํางานอย่างเพียงพอ และการติดตามผลอย่างต่อเนื่อง โดยคณะทํางานระดับตําบลซึ่งมีนายกองค์การบริหารส่วนตำบลนาทอนเป็นประธาน 3) แนวทางการพัฒนาการสื่อสาร ประกอบด้วย (1) จําแนกกลุ่มผู้รับสารตามลักษณะความเสี่ยงที่เกิดจากการย้ายกลับภูมิลำเนาและแยกตามพื้นที่หมู่บ้าน (2) กำหนดวัตถุประสงค์การสื่อสารให้ชัดเจนเพื่อให้ความรู้ ปรับทัศนคติ และพฤติกรรม (3) การออกแบบเนื้อหาสารจากผู้เชี่ยวชาญที่น่าเชื่อถือ สารที่น่าสนใจ ชวนติดตาม และน่าจดจำ เพิ่มเนื้อหาด้านมาตรการทางสังคม การหลีกเลี่ยงสัมผัสใกล้ชิดผู้มีความเสี่ยงและการอยู่บ้านหยุดเชื่อเพื่อชาติ (4) พัฒนาทีมผู้ส่งสารที่มีทักษะการพูด เพื่อให้ความรู้และโน้มน้าวใจให้คล้อยตาม คัดเลือกจากบุคคลที่น่าเชื่อถือในหมู่บ้านที่มีจิตอาสา และ (3) ใช้สื่ออย่างหลากหลายที่สอดคล้องกับบริบทของคนในพื้นที่ และสามารถเข้าถึงได้ง่าย สื่อดั้งเดิมเน้นสื่อบุคคล และสื่อใหม่เน้นสื่อสังคมออนไลน์ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม. (นวัตกรรมการสื่อสารทางการเมืองและการปกครองท้องถิ่น))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9528 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Comm-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 15.46 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License