กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9530
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะหมดไฟในการทำงานของบุคลากรในโรงพยาบาลเอกชน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors related to burnout syndrome of personnel in private hospitals, Mueang Chon Buri District, Chon Buri Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ธีระวุธ ธรรมกุล ณัฐนันท์ ฤทธิ์สำเร็จ, 2536- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ปกกมล เหล่ารักษาวงษ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ--วิทยานิพนธ์ บุคลากรทางการแพทย์--ความเครียดในการทำงาน โรงพยาบาลเอกชน--ไทย--ชลบุรี--ความพอใจในการทำงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยแบบภาคตัดขวางนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยส่วนบุคคล การทำงาน และชีวิตความเป็นอยู่ (2) ภาวะหมดไฟในการทำงาน และ (3) อิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคล การทํางาน ชีวิตความเป็นอยู่ต่อภาวะหมดไฟในการทํางานของบุคลากรในโรงพยาบาลเอกชน อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ บุคลากรที่ปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาลหรืองานบริการทางการแพทย์ ในโรงพยาบาลเอกชน 4 แห่ง จํานวน 348 คน จากทั้งหมด 2,211 คน คำนวณขนาดตัวอย่างสําหรับวิเคราะห์สมการถดถอยเชิงพหุของ Cohen (1988) และทําการสุ่มตัวอย่างแบบมีระบบ เก็บข้อมูลโดยแบบสอบถามทั้งหมด 3 ส่วน ได้แก่ ข้อมูลส่วนบุคคล การทํางาน และแบบวัดภาวะหมดไฟในการทํางานมีค่าความเที่ยง 0.89 เก็บข้อมูลระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2563 ถึงมกราคม 2564 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการศึกษาพบว่า (1) บุคลากรในโรงพยาบาลเอกชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุเฉลี่ย 32.45 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี อายุการทํางานน้อยกว่า 10 ปี ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับปานกลาง มีความสนิทสนมรักใคร่กันดี สถานภาพทางเศรษฐกิจพบว่ามีรายจ่ายมากกว่ารายได้และมีหนี้สิน (2) ระดับภาวะหมดไฟในการทํางานส่วนใหญ่อยู่ในระดับ ทั้งด้านความอ่อนล้าทางอารมณ์ การลดค่าความเป็นบุคคล และการลดความสําเร็จส่วนบุคคล และ (3) ปัจจัยที่มีผลต่อภาวะหมดไฟในการทํางาน คือ ระดับการศึกษา ประสบการณ์การทํางาน ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน การเคยคิดลาออกจากอาชีพ ความเพียงพอของการมีเวลาส่วนตัว และสถานภาพทางเศรษฐกิจ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ซึ่งสามารถร่วมกันอธิบายการแปรผันตามการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ได้ร้อยละ 33.40 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (ส.ม.(สาธารณสุขศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2563 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9530 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Health-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.2 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License