กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9532
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการกำหนดหลักเกณฑ์การวินิจฉัยความผิดวินัยทหาร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Approaches to stipulating criteria for determining transgression of Military Discipline |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุพัตรา แผนวิชิต ปณต อดิศักดิ์พานิชกิจ, 2532- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วรรณวิภา เมืองถ้ำ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์ ทหาร--วินัย--กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ |
วันที่เผยแพร่: | 2564 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาหลักการ แนวคิด ทฤษฎีทั่วไป และกฎหมายมหาชนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์สำหรับวินิจฉัยทางวินัยทหาร (2) ศึกษากฎหมายไทย อาทิ พระราชบัญญัติว่าด้วยวินัยทหาร พุทธศักราช 2476 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับหลักเกณฑ์สําหรับวินิจฉัยทางวินัยทหาร (3) ศึกษากฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี ฝรั่งเศส อังกฤษ แอฟริกาใต้ อินเดีย เมียนมาร์ นิวซีแลนต์ จาเมกา และประเทศแคนาดา เกี่ยวกับหลักเกณฑ์สําหรับวินิจฉัยคดีทางวินัยทหาร (4) ศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายไทยกับกฎหมายแอฟริกาใต้ อินเดีย สหรัฐอเมริกา เมียนมาร์ นิวซีแลนด์ อังกฤษ จาเมกา และแคนาดาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์สําหรับวินิจฉัยคดีทางวินัยทหาร (5) เสนอแนะแนวทางเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการจําแนกความผิดวินัยทหารฐานประพฤติไม่สมควรกับฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรง และกำหนดระดับทัณฑ์ทางวินัยและมาตรการทางปกครองต่อฐานความผิดเหล่านั้นสําหรับแต่ละกรณีให้แก่กองทัพบก งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยทางเอกสาร ศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลจากกฎหมาย วิทยานิพนธ์ รายงานวิจัย บทความ คำพิพากษาศาลฎีกา วารสาร และระเบียบภายในของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในส่วนของการวิเคราะห์ข้อมูลงานวิจัย วิจัยทําการสังเคราะห์และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพจากเนื้อหาที่ได้จากการวิจัยเอกสารและการทบทวนวรรณกรรม เพื่อการปกครองต่อฐานความผิดเหล่านั้นสําหรับบางกรณีนํามาเป็นแนวทางในการจัดหาข้อเสนอแนะต่อไป ผลการวิจัยพบว่า (1) หลักการ แนวคิด ทฤษฎีทั่วไป และกฎหมายมหาชนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์สําหรับวินิจฉัยคดีทางวินัยทหารบางกรณียังขาดหลักทัณฑ์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยความผิดวินัยทหาร จึงเกิดผลกระทบต่อการตีความและการบังคับใช้กฎหมายอันเป็นการกระทบสิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตลอดจนความเด็ดขาดในการบังคับบัญชา (2) กฎหมายไทยความผิดทางวินัยทหารอยู่ในอำนาจของผู้บังคับบัญชาทหารที่จะลงทัณฑ์ได้ แต่บางกรณีปรากฏเพียงมาตรการทางปกครองสําหรับความผิดฐานประพฤติชั่วอย่างร้ายแรงเท่านั้น (3) กฎหมายสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ สาธารณรัฐอินเดีย สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ นิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักร จาเมกา และแคนาดา ปรากฏระดับทัณฑ์ทางวินัยและมาตรการทางปกครองต่อความผิดฐานอื้อฉาว ประพฤติไม่เหมาะสม และประพฤติเสื่อมเสีย (4) กฎหมายสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ สาธารณรัฐอินเดีย สหรัฐอเมริกา สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ นิวซีแลนด์ สหราชอาณาจักร จาเมกา และแคนาดา ปรากฏระดับทัณฑ์ทางวินัยและมาตรการทางปกครองต่อความผิดฐานอื้อฉาว ประพฤติไม่เหมาะสม และประพฤติเสื่อมเสีย ส่วนกฎหมายไทยยังไม่ปรากฏหลักเกณฑ์สําหรับวินิจฉัยคดีทางวินัยทหารในบางกรณีที่เป็นฐานความผิดวินัยโดยเฉพาะ (5) ข้อเสนอแนะของงานคือการกำหนดหลักเกณฑ์ในการจําแนกความผิดวินัยทหารฐานประพฤติไม่สมควรกับฐานประพฤติวอย่างร้ายแรง และกำหนดระดับทัณฑ์ทางวินัยและมาตรการทางปกครองต่อฐานความผิดเหล่านั้นสำหรับบางกรณี |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9532 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
FULLTEXT.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 30.76 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License