กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9533
ชื่อเรื่อง: คู่มือการประเมินผู้ส่งมอบของบริษัทไอทีฟอร์จิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Supplier evaluation manual of IT Forging (Thailand) Company Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดวงสุดา เขียวโมรา, 2521-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: บริษัทไอทีฟอร์จิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) กำหนดขั้นตอนในการประเมินผู้ส่งมอบ (2) กำหนดเกณฑ์ในการประเมินผู้ส่งมอบ (3) กำหนดขั้นตอนและเกณฑ์การตรวจติดตามผู้ส่งมอบ วิธีการศึกษารวบรวมเก็บข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่แผนกจัดซื้อ เจ้าหน้าที่ แผนกควบคุมการผลิต และเจ้าหน้าที่แผนกตรวจสอบคุณภาพ ในบริษัท ไอทีฟอร์จิ้ง (ประเทศไทย) จำกัด จำนวน 5 คน และข้อมูลทุติยภูมิจาก ตำราทางวิชาการเกี่ยวกับหลักการจัดซื้อ วารสารเกี่ยวกับระบบ บริหารคุณภาพและระเบียบปฏิบัติของบริษัท ผลการศึกษาพบว่า (1)กำหนดขั้นตอนการประเมินผู้ส่งมอบโดยเริ่มจากการแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่เพื่อความชัดเจนในการปฏิบัติงาน รวบรวมข้อมูลต้านคุณภาพ การส่งมอบ คุณภาพ ราคา ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมจากแผนกที่เกี่ยวข้อง เพื่อทำการประเมินผู้ส่งมอบและทำการสรุปผล ดำเนินการแจ้งผลการประเมินไปยังผู้ส่งมอบเพื่อพัฒนาคุณภาพต่อไป ทั้งนี้ได้กำหนดขั้นตอน ในการปฏิบัติสำหรับผู้ส่งมอบที่มีผลคะแนนอยู่ตํ่ากว่าเกณฑ์ที่กำหนดซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กรณี โดยใช้ ระยะเวลาในการแก้ไขเป็นตัวกำหนด (2) กำหนดเกณฑ์การประเมินผู้ส่งมอบออกเป็น 4 หัวข้อหลักคือ 1.คุณภาพ 2.การส่งมอบ 3.การปรับราคา 4.ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม โดยคะแนนจะกำหนด ตามลำดับความสำคัญของแต่ละหัวข้อ ทั้งนี้ได้กำหนดวิธีการคำนวนโดยใช้สูตรในการหาคะแนนในแต่ ละหัวข้อเพื่อตัดเกรดในการประเมินผู้ส่งมอบ (3) กำหนดขั้นตอนและเกณฑ์การตรวจติดตามผู้ส่งมอบ โดยเริ่มจากการแจ้งข้อมูลไปยังผู้ส่งมอบเพื่อการตรวจติดตามโดยการเยี่ยมชมโรงงานผู้ส่งมอบ รวบรวม ข้อมูลเพื่อการตรวจติดตาม ทำการตรวจติดตามผู้ส่งมอบตามเวลาและหัวข้อที่กำหนด พร้อมทั้งจัดทำ รายงานผลการตรวจติดตามโดยการเสนอแนะและให้ผู้ส่งมอบแจ้งแนวทางการแก้ไขกลับ ซึ่งเกณฑ์ที่ใช้ ในการตรวจติดตามเป็นเกณฑ์เกี่ยวกับระบบคุณภาพที่มีผลต่อผลิตภัณฑ์แบ่งออกเป็น 12 หัวข้อ ทั้งนี้ได้กำหนดวิธีการคำนวนหาระดับเกรดโดยแบ่งออกเป็น 2 กรณีคือประเมินทุกหัวข้อและประเมินในบางหัวข้อ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9533
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
128347.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.03 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons