กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9534
ชื่อเรื่อง: ความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดจากอากาศยาน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Criminal liability in aircraft accidents
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธีรเดช มโนลีหกุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
สาธิตา วิมลคุณารักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
จุฑามาศ นันทโพธิเดช, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม--วิทยานิพนธ์
ความรับผิดทางอาญา
ความรับผิดสำหรับอุบัติเหตุอากาศยาน
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาถึงแนวความคิด ทฤษฎี ความเป็นมา และหลักการความรับผิดทางอาญาของผู้ควบคุมอากาศยานและผู้ควบคุมจราจรทางอากาศ (2) ศึกษาถึงแนวทางการกําหนดความรับผิดทางอาญาและการสืบสวนสอบสวนอุบัติเหตุที่เกิดจากอากาศยานภายใต้ ประมวลกฎหมายอาญา และกฎหมายการเดินอากาศของประเทศไทย (3) ศึกษาเปรียบเทียบถึงแนวทางการกำหนดความรับผิดทางอาญาและการสืบสวนสอบสวนในอุบัติเหตุที่เกิดจากอากาศยาน ตามกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และแคนาดา กับประมวลกฎหมายอาญา และกฎหมายการเดินอากาศของประเทศไทย และ (4) เสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงแก้ไข และพัฒนากฎหมายในการกําหนดความรับผิดทางอาญาเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดจากอากาศยานไทย งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีวิจัยทางเอกสาร โดยการศึกษาจากพระราชบัญญัติการเดินอากาศ พ.ศ. 2497 กฎระเบียบ ข้อบังคับ อนุสัญญา แนวทางปฏิบัติที่ดีในการพิจารณาพิพากษาคดี บทความวารสาร เอกสารทางวิชาการ งานวิจัย วิทยานิพนธ์ และข้อมูลจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ ผลการศึกษาพบว่า (1) เมื่อมีการเดินทางโดยเครื่องบินมากขึ้น สิ่งที่ตามมาคืออุบัติเหตุที่เกิดจากอากาศยาน ส่งผลให้นานาประเทศตระหนักถึงความสำคัญในการสร้างแนวปฏิบัติร่วมกันทําให้เกิดองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ตามมาด้วยอนุสัญญาชิคาโก (2) หลักการสอบสวนอุบัติเหตุที่เกิดจากอากาศยานตามอนุสัญญาชิคาโก มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและอุบัติการณ์ (3) จากการศึกษาเปรียบเทียบพบว่าศาลไทย สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และแคนาดาวินิจฉัยความรับผิดของผู้ควบคุมอากาศยานและผู้ควบคุมจราจรทางอากาศในอุบัติเหตุรูปแบบเดียวกันแตกต่างกันออกไปกระบวนการพิจารณาคดีของประเทศสหรัฐอเมริกานั้นได้นำหลักนักบินผู้ควบคุมอากาศยานจะต้องรับผิดชอบในขั้นต้นตามอนุสัญญา คาโก แต่ศาลของประเทศออสเตรเลีย แคนาดา และไทยใช้หลักความรับผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาบังคับใช้กับนักบินหรือผู้ควบคุมจราจรทางอากาศ ในส่วนของการกระทำโดยเจตนาและประมาทเลินเล่อ (4) ควรมีการกําหนดอำนาจหน้าที่และความรับผิดของผู้ควบคุมอากาศยานและผู้ควบคุมจราจรทางอากาศให้ชัดเจนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (น.ม.(กฎหมายอาญาและกระบวนการยุติธรรม))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2564
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9534
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Law-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
FULLTEXT.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.19 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons