กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/953
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยความสำเร็จในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ของนายแพทย์สำเริง แหยงกระโทก กรณีศึกษาการเลือกตั้ง วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors of success in the election campaigning of Dr. Sumreung Yangkratoke to the position of chairman of the Nakhon Ratchasima Provincial Administrative Organization : a case study of the election in the 10 February B.E. 2551
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสนีย์ คำสุข
ฉกาจ พรหมดีสาร, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ปธาน สุวรรณมงคล
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง -- ไทย -- นครราชสีมา
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อความสำเร็จในการเลือกตั้งนายก องค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ของนายแพทย์สำเริง แหยงกระโทก โดยศึกษากรณีการเลือกตั้ง วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551 การวิจัยนี้ใช้การศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพประกอบการวิจัยเชิงปริมาณ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ ทำการสัมภาษณ์เจาะลึกผู้สมัคร การจัดสนทนากลุ่มย่อย การสังเกตการณ์และการวิจัยเอกสารประกอบ โดยมี กลุ่มประชากรตัวอย่าง จำนวน 3 กลุ่ม คือ ผู้สมัครรับเลือกตั้ง 1 คน คู่แข่งในการเลือกตั้ง 2 คน และทีมงาน สนับสนุนในการหาเสียง 40 คน นำเสนอข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่ม ประชากร คือ ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใช้วิธีคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่มอาชีพ จำนวน 400 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และวิเคราะห์โดยหาค่าสถิติร้อยละและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบตาราง ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยสำคัญที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วน จังหวัดนครราชสีมา พ.ศ. 2551 ได้แก่ ปัจจัยภายใน ซึ่งประกอบด้วย 1. ภูมิหลังและคุณสมบัติของ นพ. สำเริง แหยงกระโทก คือ ด้านประวัติชีวิตและครอบครัว ด้านการประกอบวิชาชีพแพทย์ ด้านผลงานทางวิชาการ ด้านการบริหารพัฒนาบุคลากร/หน่วยงาน ด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน/ชุมชน 2. นโยบายของผู้สมัครที่ใช้ในการหาเสียง คือ การให้เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุและการเพิ่มค่าตอบแทนรายเดือนให้กับอาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน 3. ทุนสนับสนุนในการหาเสียงที่ใช้ คือ ทุนทางสังคมคือความน่าเชื่อถือเป็นที่รักเคารพและศรัทธา ของประชาชน 4. ทีมงานสนับสนุนในการหาเสียง คือ ทีมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและทีมผู้นำท้องถิ่น 5. วิธีการสำคัญในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งที่สำคัญ คือ การใกล้ชิดเป็นกันเองกับประชาชน และ ปัจจัยภายนอก ซึ่งประกอบด้วย 1. คู่แข่งในการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นอดีตนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด และผู้สมัครหน้าใหม่ที่ได้รับความนิยมอยู่ในคนจำนวนน้อยกลุ่มเดิม 2. บรรยากาศการเลือกตั้งที่ประชาชนมีความตื่นตัวทาง การเมืองสูงต้องการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง 3. การเกื้อหนุนของกลุ่มผลประโยชน์และกลุ่มสมาชิกสภาผู้แทนราษฏรในจังหวัด คือ นักธุรกิจและนักการเมืองท้องถิ่นให้การสนับสนุน 4. สื่อมวลชน คือ หนังสือพิมพ์และวิทยุให้ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง 5. กระบวนการจัดการเลือกตั้งของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่มีความบริสุทธิ์ยุติธรรม ส่วนผลการวิเคราะห์เชิงปริมาณพบว่า ปัจจัยภายในมีผลต่อความสำเร็จในการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมามากกว่าปัจจัยภายนอก
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/953
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib122417.pdfเอกสารฉบับเต็ม26.46 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons