Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9541
Title: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจใช้บริการ มีโชค พลาซ่า จังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Factors affecting the decision to use the service at Meechock Plaza in Chiang Mai Province
Authors: สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดวงพร พรหมพัง, 2516-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มีโชค พลาซ่า--ความพอใจของผู้ใช้บริการ
Issue Date: 2556
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ลักษณะส่วนบุคคลของผู้มาใช้บริการ มีโชค พลาซ่า จังหวัดเชียงใหม่ (2) ระดับความสำคัญของปัจจัยส่วนประสมการตลาด (3) ระดับ ความสำคัญของขั้นตอนในกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้มาใช้บริการ (4) ปัจจัยส่วนประสม การตลาดที่มีผลต่อกระบวนการตัดสินใจใช้บริการ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือลูกค้าที่มาใช้ บริการภายใน มีโชค พลาซ่า จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งไม่ทราบจำนวน ผู้วิจัยจึงกำหนดขนาดกลุ่ม ตัวอย่างที่ระดับความคลาดเคลื่อน 0.05 จำนวน 384 คนโดยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือ การวิจัยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ สถิติเชิงพรรณา คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน คือ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า (1) ลักษณะส่วนบุคคลของผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ เฉลี่ยอยู่ระหว่าง 20 - 30ปีสัญชาติไทย ระดับการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีประกอบอาชีพ พนักงานและลูกจ้างเอกชน รายได้อยู่ระหว่าง 10,000 - 20,000 บาท (2) ระดับความสำคัญของ ปัจจัยส่วนประสมการตลาด ในภาพรวมอยู่ในระดับมากและเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้าน ลักษณะทางกายภาพ ผู้บริโภคให้ความสำคัญในเรื่องภาพลักษณ์ที่ทันสมัยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านผลิตภัณฑ์และบริการ ผู้บริโภคให้ความสำคัญในเรื่องคุณภาพของสินค้าและบริการมากที่สุด ด้านการส่งเสริมการตลาดผู้บริโภคให้ความสำคัญน้อยที่สุด (3) ในกระบวนการตัดสินใจซื้อ ผู้บริโภคให้ความสำคัญกับขั้นตอนความพึงพอใจหลังการใช้บริการมากที่สุด รองลงมาคือ การ ประเมินผลทางเลือก (4) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดมีผลต่อกระบวนการตัดสินใจใช้บริการ ทุกด้านโดยมีความสัมพันธ์ในระดับปานกลางและสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน อย่างมีนัยสำกัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ปัจจัยด้านการส่งเสริมการตลาดมีความสัมพันธ์มาก ที่สุด รองลงมาคือปัจจัยด้านกระบวนการ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9541
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
140792.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.98 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons