Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9550
Title: การศึกษาแนวทางการพัฒนาการจัดการความรู้ของกรมการพัฒนาชุมชน
Other Titles: A study of knowledge management development of community development department
Authors: เฉลิมพงศ์ มีสมนัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
นัฐวรรณ เทียนสิทธิ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
กรมการพัฒนาชุมชน
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
การบริหารองค์ความรู้
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) แนวทางการจัดการความรู้ของกรมการพัฒนา ชุมชน (2) ประสิทธิผลของการจัดการความรู้กรมการพัฒนาชุมชน (3) ปัญหา อุปสรรคการจัดการความรู้ ของกรมการพัฒนาชุมชน และ (4) แนวทางในการพัฒนาการจัดการความรู้ของกรมการพัฒนาชุมชน กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานในส่วนกลางของกรมการพัฒนา ชุมชนจำนวนทั้งสิ้น 235 คน จากจำนวนประชากร 567คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง อย่างง่าย เครื่องมือที่ ใช้คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวน การทดสอบรายคู่ด้วยวิธีผลต่างมีนัยสำคัญ น้อยที่สุด ผลการศึกษาพบว่า (1) กรมการพัฒนาชุมชนได้นำแนวทางการจัดการความรู้ของสำนักงาน ก.พ.ร. มาใช้ในการจัดการความรู้ ประกอบด้วย การบ่งชี้ความรู้ การสร้างและแสวงหาความรู้ การจัด ความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลและกลั่นกรองความรู้ การเข้าถึงความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และการเรียนรู้ (2) ประสิทธิผลการจัดการความรู้ของกรมการพัฒนาชุมชนในภาพรวมอยู่ในระดับปาน กลาง เมื่อพิจารณาเป็น รายด้านพบว่า การเรียนรู้มีประสิทธิผลมากที่สุด รองลงมาได้แก่การสร้างและ แสวงหาความรู้การเข้าถึงความรู้การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้การจัดความรู้ให้เป็นระบบการประมวล และกลั่นกรองความรู้ การบ่งชี้ความรู้ตามลำดับ (3) ปัญหาอุปสรรคในการจัดการความรู้ของกรมการ พัฒนาชุมชนเกิดจากการที่บุคลากรไม่มีความรู้ ความเข้าใจในวิธีการจัดการความรู้ ไม่จัดระบบการจัดการ ความรู้ให้เป็นมาตรฐาน บุคลากรไม่มีเวลาในการจัดการความรู้เนื่องจากมีภาระงานเยอะในขณะที่ บุคลากรบางส่วนไม่ให้ความร่วมมือความรู้ที่มีไม่ได้ใช้ประโยชน์และการเข้าถึงแหล่งความรู้ทำได้ยาก เนื่องจากไม่มีการถ่ายทอด/เผยแพร่ความรู้ นอกจากนี้แม้ว่ามีคณะทำงานการจัดการความรู้แต่ไม่สามารถ ดำเนินงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ (4) แนวทางในการพัฒนาการจัดการความรู้ของกรมการพัฒนาชุมชน ได้แก่ ก) ควรมีเป้าหมายการจัดการความรู้ที่ตอบสนองต่อการแก้ปัญหาและความต้องการเรียนรู้ของคน ในองค์การ ข) ควรมีการจัดลำดับความสำคัญขององค์ความรู้ที่จำเป็นในการดำเนินงาน และ ค) ควรมีการ จัดทำรายชื่อแหล่งความรู้/ฐานข้อมูล/ฐานความรู้ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9550
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
145680.pdfเอกสารฉบับเต็ม11.15 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons