กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9564
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิผลของการให้บริการแก่ผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลปากท่อ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effectiveness of service for patients with diabetes mellitus in Paktho Hospital
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศรีธนา บุญญเศรษฐ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
น้ำทิพย์ บำเพ็ญอยู่, 2531-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
โรงพยาบาลปากท่อ
เบาหวาน--ผู้ป่วย
การบริการทางการแพทย์
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับประสิทธิผลของการให้บริการแก่ผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลปากท่อ (2) เปรียบเทียบประสิทธิผลของการให้บริการแก่ผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลปากท่อ จำแนกตามหน่วยงานที่ให้บริการ และ (3) ศึกษาแนวทางการปรับปรุงการให้บริการแก่ผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลปากท่อการศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือ ผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการลงทะเบียนวินิฉัยจากแพทย์ว่าเป็นเบาหวาน (ข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องที่ โรงพยาบาลปากท่อจังหวัดราชบุรี ซึ่งมีจำนวนทั้งสิ้น 1,893 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยการคำนวณได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 331 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นตามหน่วยงานที่ให้บริการและวิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ ข้อมูลคือ ความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับประสิทธิผลของการให้บริการแก่ผู้ป่วยเบาหวานโรงพยาบาลปากท่ออยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาในแต่ละมิติพบว่า มิติด้านการเงินหรือด้านเศรษฐศาสตร์มีประสิทธิผลอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาอยู่ในระดับมากคือมิติด้านลูกค้าประกอบด้วย ด้านผลงานและด้านความพึงพอ ใจ และมิติด้านกระบวนการภายในหรือด้านเวลาในการดำเนินงานตามลำดับ(2) เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิผลของการ ให้บริการ จำแนกตามหน่วยงานที่ให้บริการได้แก่ศูนย์สุขภาพชุมชนโรงพยาบาลและคลินิกเบาหวาน พบว่าประสิทธิผลของการให้บริการแก่ผู้ป่วยเบาหวานโดยรวม ของทั้งสองหน่วยงานมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยศูนย์สุขภาพชุมชนมีประสิทธิผลรวมมากกว่าที่คลินิกเบาหวาน อย่างมึนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) แนวทางในการปรับปรุงการให้บริการที่สำคัญคือการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกในมิติด้านลูกค้า ได้แก่ที่นั่งคอยรับบริการ พื้นที่จอดรถ จำนวนเจ้าหน้าที่ และการปรับปรุงขั้นตอนการให้บริการในมิติด้านกระบวนการภายใน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9564
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_150950.pdfเอกสารฉบับเต็ม6.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons