Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9583
Title: | การประเมินหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย |
Other Titles: | Evaluation of bachelor of arts programme in Buddhism, Mahachulalongkornrajavidyalaya University |
Authors: | สมคิด พรมจุ้ย สุรพล หยกฟ้าวิจิตร, 2511- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ทัศนีย์ ชาติไทย |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์--วิทยานิพนธ์ พุทธศาสนา--การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) การประเมินหลักสูตร |
Issue Date: | 2554 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินวัตถุประสงค์ของหลักสูตรพุทธศาสตร บัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา 2) ประเมินปัจจัยเบื้องต้นของหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา พระพุทธศาสนา 3) ประเมินกระบวนการของหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา และ 4) ประเมินผลผลิตของหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหาร 64 รูป/คน อาจารย์ 113 รูป/คน นิสิต 216 รูป/คน นิสิตปฏิบัติศาสนกิจ 38 รูป และผู้ใช้บัณฑิต 25 รูป รวมจำนวนทั้งสิ้น 456 รูป/คน เครื่องมือ ที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม และแบบบันทึกข้อมูล สถิติที่ใช้ในการวิจัยคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) วัตถุประสงค์ของหลักสูตร มีความชัดเจน มีความเหมาะสมใน ระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน 2) ปัจจัยเบื้องต้นของหลักสูตร โดยภาพรวมมีความเหมาะสมใน ระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าผ่านเกณฑ์การประเมินมี 5 ด้านคือ ด้านโครงสร้างหลักสูตรโครงสร้างที่ 1 (วิชาเอก-โท) โครงสร้างหลักสูตรโครงสร้างที่ 2 (วิชาเอกเดี่ยว) ด้านรายวิชาในหลักสูตร ด้านคุณลักษณะของอาจารย์ และด้านคุณลักษณะความพร้อมของนิสิต ส่วน ด้านที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินคือ ด้านสิ่งสนับสนุนอื่นๆ 3) กระบวนการของหลักสูตร โดยภาพรวม มีความเหมาะสมในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าผ่านเกณฑ์การ ประเมินมี 3 ด้านคือ ด้านการบริหารหลักสูตร ด้านการวัดและประเมิน ผล และด้านการปฏิบัติศาสนกิจ ของนิสิต ส่วนด้านที่ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมินคือ ด้านการจัดการเรียนการสอน 4) ผลผลิตของ หลักสูตร พิจารณาจากจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาและจำนวนผู้ออกกลางคันพบว่า นิสิตรุ่นที่เข้าศึกษาใน ปีการศึกษา 2550 มีจำนวนทั้งสิ้น 918 รูป/คน มีผู้สำเร็จการศึกษาจำนวนทั้งสิ้น 594 รูป/คน คิดเป็น ร้อยละ 64.71 ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของบัณฑิตพบว่าบัณฑิตมีผลการ เรียนเฉลี่ยมากกว่าหรือเท่ากับ 2.00 ผ่านเกณฑ์การประเมิน ด้านความพึงพอใจในคุณลักษณะที่พึง ประสงค์ของบัณฑิต 9 ประการ โดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์การประเมิน |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศษ.ม. (การวัดและประเมินผลการศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9583 |
Appears in Collections: | Edu-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
128737.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.94 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License