Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9595
Title: | ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความตั้งใจซื้อซ้ำเครื่องคอมพิวเตอร์เกรดอุตสาหกรรมของบริษัท ดับบลิวเจเทคโนโลยี จำกัด |
Other Titles: | Factors relating the intention to repurchase industrial computer of W.J. Technology Company Limited |
Authors: | สุรีย์ เข็มทอง ทรงเกียรติ อภิชัย, 2522- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี บริษัท ดับบลิวเจเทคโนโลยี การตัดสินใจ คอมพิวเตอร์--การจัดซื้อ |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความตั้งใจในการซื้อซํ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เกรดอุตสาหกรรม (2) ศึกษาพฤติกรรมการซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เกรดอุตสาหกรรม (3)หาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไปกับความตั้งใจซื้อซํ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เกรดอุตสาหกรรม (4) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการซื้อกับความตั้งใจซื้อซํ้าเครื่องคอมพิวเตอร์เกรด อุตสาหกรรม และ (5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดกับความตั้งใจซื้อซํ้า เครื่องคอมพิวเตอร์เกรดอุตสาหกรรม ประชากรในการศึกษาครั้งนี้ คือ ลูกค้าที่เคยซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์เกรดอุตสาหกรรม ของบริษัท ดับบลิวเจเทคโนโลยี จำกัด จำนวน 285 ราย ขนาดตัวอย่างคำนวณจากสูตรของ ทาโร่ ยามาเน่ ได้ 167 ราย ใช้วิธีเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ ค่าไคสแควร์และค่าสัมประสิทธสหสัมพันธ์ ของ!พียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความคิดเห็นต่อความตั้งใจซื้อซํ้าเครื่องคอมพิวเตอร์!กรด อุตสาหกรรมโดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) พฤติกรรมการซื้อพบว่า ส่วนใหญ่ซื้อใช้กับโครงการใหม่ ข้อมูลผลิตภัณฑ์ไต้จากพนักงานขายซื้อเพราะการให้บริการหลังการขายดีกว่าผู้ขายรายอื่นผู้ที่มีอิทธิพล ต่อการตัดสินใจซื้อคือ ผู้ใช้งาน ปริมาณซื้อคือ 9-12 ครั้งต่อปี และซื้อจำนวน 2-3 เครื่องต่อครั้ง (3) ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลทั่วไปและความตั้งใจซื้อซํ้าไม่พบว่ามีความสัมพันธ์กัน (4) ความ สัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการซื้อและความตั้งใจซื้อซํ้าไม่พบว่ามีความสัมพันธ์เช่นเดียวกัน และ (5)ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมการตลาดและความตั้งใจซื้อซํ้าโดยรวมมีความสัมพันธ์ เชิงบวกโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และพบว่าทุกปัจจัยส่วนประสมการตลาดมีความสัมพันธ์ ยกเว้นปัจจัยด้านการจัดจำหน่าย |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9595 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
150243.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.18 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License