กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9625
ชื่อเรื่อง: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานสรรพยากรพื้นที่เชียงใหม่ 2 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Factors affecting employee performance at Chiangmai Area Revenue Office 2 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรรณา ศิลปอาชา ปรานี สายกองคำ, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี สำนักงานสรรพยากรพื้นที่เชียงใหม่ 2 การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ การทำงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2557 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานสรรพากรพื้นที่เชียงใหม่ 2 (2) ศึกษาระดับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานสรรพากรพื้นที่เชียงใหม่ 2 (3) เปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานสรรพากรพื้นที่เชียงใหม่ 2 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ (4) ศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานกับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานสรรพากรพื้นที่เชียงใหม่ 2 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรสำนักงานสรรพากรพื้นที่เชียงใหม่ 2 จำนวนทั้งสิ้น 169 คน ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 119 คนใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นกูมิ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันโดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสำนักงานสรรพากรพื้นที่เชียงใหม่ 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากลำดับแรกคือด้านการฝึกอบรม รองลงมาคือ ด้านความรู้เกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน และอยู่ในระดับปานกลางคือ ด้านโอกาสความก้าวหน้า และด้านสวัสดิการ/ค่าตอบแทนตามลำดับ (2) บุคลากรสำนักงานสรรพากรพื้นที่เชียงใหม่ 2 มีระดับผลการปฏิบัติงาน โดยรวมอยู่ในระดับดี และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับดี ลำดับแรกคือ ด้านประสิทธิภาพ รองลงมาคือ ด้านคุณภาพของงาน ด้านการตอบสนองความต้องการ ของผู้รับบริการ และด้านนวัตกรรม ตามลำดับ (3) บุคลากรสำนักงานสรรพากรพื้นที่เชียงใหม่ 2 ที่มีอายุ ระดับการศึกษา และฝ่ายส่วนงานที่สังกัดแตกต่างกันมีผลการปฏิบัติงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ 0.5 แต่บุคลากรที่มีเพศ สถานภาพสมรส รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และอายุงานในสำนักงานสรรพากรพื้นที่เชียงใหม่ 2 แตกต่างกับมีผลการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน และ (1) ปัจจัยจุงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากร โคยร วม มีความสัมพัน ธ์เชิงบวกกับผลการปฏิบัติงานของบุคลากรระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.0 1 และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ปัจจัยจูงใจในการปฏิบัติงานสัมพันธ์กับผลการปฏิบัติงานในด้านคุณภาพ ด้านประสิทธิภาพ ด้านนวัตกรรม และด้านการตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.0 1 โดยมีความสัมพันธ์เชิงบวกในทิศทางเดียวกัน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9625 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_148530.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 11.2 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License