Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9658
Title: แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ซีพีแรม จำกัด
Other Titles: Motivation affecting employee performance at CPRAM Company Limited
Authors: ศรีธนา บุญญเศรษฐ์, อาจารยืที่ปรึกษา
มนฤทัย ประสพศิลป์, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัทซีพีแรม จำกัด--พนักงาน--ความพอใจในการทำงาน
Issue Date: 2557
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ซีพีแรม จำกัด (2) ศึกษาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ซีพีแรม จำกัด (3) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานบริษัท ซีพี่แรม จำกัด จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ(4) ศึกษาแรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัทซีพีแรม จำกัด ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ พนักงานรายวันบริษัท ซีพีแรม จำกัด สำนักงานลาดกระบัง จำนวน 2,113 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยวิธีการคำนวณ ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 336 คนซึ่งสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นและสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการราบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเฉลี่ยโดยใช้สถิติที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบรายคู่ด้วยวิธีของเชฟเฟ่ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ของพนักงานในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายปัจจัยพบว่า แรงจูงใจในปัจจัยจูงใจของพนักงานในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ส่วนแรงจูงใจในปัจ จัยค้ำจุนของพนักงานในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (2) ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานในภาพรวมอยู่ในระดับสูง (3) พนักงานที่มีอายุและระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานแดกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.05 แต่พนักงานที่มีเพศ สถานภาพการสมรส ระยะเวลาในการทำงานที่แตกต่างกันมีประสิทธิภาพการปฏิบัติงานไม่แตกต่าง (4) แรงจูงใจที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ความสัมพันธ์กับผู้ร่วมงานหรือผู้บังกับบัญชา ลักษณะของงานสภาพการทำงานนโยบายและการบริหารงานขององค์การ ใอกาสก้าวหน้า และความรับผิดชอบต่องานโดยร่วมกันทำนายการส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานได้ร้อยละ 40
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9658
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_146815.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.76 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons