กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9662
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนจระเข้หินสังฆกิจวิทยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Information and communication technology usage behaviors for learning of secondary education students at Chorakhe Hin Sangkhakit Wittaya School
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรางคณา โตโพธิ์ไทย, อาจารย์ที่ปรึกษา
ณัฐภัทร กลิ่นจะโป๊ะ, 2527-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
เทคโนโลยีสารสนเทศ--การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนจระเข้หินสังฆกิจวิทยา ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนจระเข้หินสังฆกิจวิทยา ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ประจำปีการศึกษา 2559 จำนวน 313 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทางการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏว่าพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละด้านได้แก่ (1) ด้านประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศที่นักเรียนใช้ คือ เครือข่ายสังคมออนไลน์ประเภทแอพพลิเคชั่น บนมือถือ (2) ด้านจุดมุ่งหมายในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนคือ เพื่อการผ่อนคลายและความบันเทิงนำไปสู่การมีความคิดสร้างสรรค์จินตนาการ และแรงบันดาลใจในการ เรียนรู้ (3) ด้านสถานที่ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนคือ บ้านเรือนที่พักอาศัยของตน (4) ด้านการบริการอินเทอร์เน็ตที่นักเรียนใช้คือ อินเทอร์เน็ต ไร้สายผ่านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ (5) ด้านช่วงเวลาและความถี่ในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนคือ ช่วงเวลากลางคืนและใช้ทุกวัน (6) ด้านผลจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียน คือ ทำให้สามารถติดต่อสื่อสารสะดวกขึ้น และ (7) ด้านความต้องการพัฒนาพฤติกรรมเพื่อใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา ของนักเรียนคือ ความรู้เท่าทันเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9662
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
151733.pdf8.68 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons