กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9678
ชื่อเรื่อง: คุณภาพชีวิตการทำงานของนายทหารชั้นประทวน ค่ายเขตอุดมศักดิ์ จังหวัดทหารบกชุมพร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Quality of work life of noncommission officers at Fort Keatudomsak Military District Chumphorn
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธวัช ฟักนิกรณ์, 2508-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ทหารชั้นประทวน--ไทย--ชุมพร
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
คุณภาพชีวิตการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของนายทหาร ชั้นประทวน ค่ายเขตอุดมศักดิ์ จังหวัดทหารบกชุมพร และ (2) เปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิต การทำงานของนายทหารชั้นประทวน ค่ายเขตอุดมศักดิ์ จังหวัดทหารบกชุมพร จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากร คือ นายทหารประทวน ค่ายเขตอุดมศักดิ์ จังหวัดทหารบกชุมพร จำนวน 508 นาย กลุ่มตัวอย่างคำนวณโดยใช้สูตรของ ทาโร่ยามาเน่ ได้จำนวน 224 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือโดยพัฒนาแบบสอบถาม ตามแนวความคิดคุณภาพชีวิตการทำงาน ของ Richard E. Walton นำข้อมูลที่รวบรวมได้มา ประมวลผลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วยความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมาน โดยวิธีการทดสอบค่าทีและค่าเอฟ การทดสอบค่าเฉลี่ยความ แตกต่างรายคู่ด้วยวิธีเชฟเฟ่ จากผลการศึกษา พบว่า (1) ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของนายทหารชั้นประทวน ค่ายเขตอุดมศักดิ์ จังหวัดทหารบกชุมพร ทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม ด้านพัฒนาความรู้ความสามารถ ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในการทำงาน ด้านบูรณาการ ทางสังคมหรือการทำงานร่วมกัน ด้านสิทธิของของกำลังพล ด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิต ส่วนตัว และด้านการปกครองบังคับบัญชา มีคุณภาพชีวิตการทำงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (2) นายทหารชั้นประทวน ค่ายเขตอุดมศักดิ์ จังหวัดทหารบกชุมพร ที่มีลักษณะส่วนบุคคลแตกต่างกัน มีระดับคุณภาพชีวิตการทำงานไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อตรวจสอบเป็นรายด้าน พบว่า นายทหาร ชั้นประทวน ค่ายเขตอุดมศักดิ์ จังหวัดทหารบกชุมพร ที่มีระดับเงินเดือนแตกต่างกัน มีระดับ คุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9678
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
150183.pdfเอกสารฉบับเต็ม13.89 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons