กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9684
ชื่อเรื่อง: การใช้สื่อสังคมในการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาโรงเรียนภัทรญาณวิทยา จังหวัดนครปฐม
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The use of social media in learning management for secondary education level students of Phattrayan Wittaya School in Nakhon Pathom Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรางคณา โตโพธิ์ไทย, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทรายทอง เกตุพลอย, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
สื่อสังคมออนไลน์--การศึกษาและการสอน
การเรียนรู้ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนื้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นต่อการใช้สื่อสังคมในการจัดการเรียนรู้ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา โรงเรียนภัทรญาณวิทยา จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 - ปีที่ 6 จำนวน 299 คน ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ในโรงเรียนภัทรญาณ วิทยา จังหวัดนครปฐม ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็นการใช้สื่อสังคมในการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียนระดับ ชั้นมัธยมศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏว่าการใช้สื่อสังคมในการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละด้าน ได้แก่ (1) ด้านประเภทการใช้สื่อสังคมเพื่อการจัดการเรียนรู้ คือ สื่อสังคมประเภทเฟซบุ๊ก (2) ด้านวัตถุประสงค์การใช้สื่อสังคมเพื่อการจัดการเรียนรู้ คือ การรับทราบข่าวสารเพื่อรับทราบผลการเรียน (3) ด้านวิธีการใช้สื่อสังคมเพื่อการจัดการเรียนรู้ คือ การใช้สื่อสังคมชั้นสรุปทบทวนเนื้อหาให้ชัดเจน (4) ด้านประโยชน์ของสื่อสังคมเพื่อการจัดการเรียนรู้ คือ เป็นช่องทางในการค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเดิมจากในห้องเรียน (5) ด้านการประเมินการใช้สื่อสังคมเพื่อการจัดการเรียนรู้สำหรับนักเรียน คือ การประเมินด้านทักษะการปฏิบัติงานจากการทำกิจกรรม และ (6) ด้านปัญหาการใช้สื่อสังคมเพื่อการจัดการเรียนรู้ คือ ขาดทักษะในการใช้ ปรแกรมบราวเซอร์เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9684
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
161607.pdf13.58 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons