กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9689
ชื่อเรื่อง: ความต้องการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียนการสอนของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The needs for using electronic media for instruction of primary level teachers in schools under Chachoengsao Primary Education Service Area Office 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วรางคณา โตโพธิ์ไทย, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนรรภรณ์ ลักษณ์บวรวงศ์, 2529-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา --การศึกษาเฉพาะกรณี
การสอนด้วยสื่อ--ไทย--ฉะเชิงเทรา
สื่อการสอน--การประเมินความต้องการจำเป็น
การศึกษาอิสระ--เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
การศึกษาขั้นประถม--การสอนด้วยสื่อ
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อการเรียน การสอนของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอนระดับประถมศึกษา โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 310 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามความต้องการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์เพื่อ การเรียนการสอนของครูผู้สอนระดับประถมศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยปรากฏว่า ครูผู้สอนระดับประถมศึกษามีความต้องการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อการเรียนการสอนโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดในแต่ละด้าน ได้แก่ (1) ประเภทของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เพื่อการเรียนการสอน คือ แผ่นวีซีดีและแผ่นดีวีดี (2) วัตถุประสงค์ของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ เพื่อให้นักเรียน เรียนรู้ได้ง่ายและสะดวก (3) ประโยชน์ของการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือช่วยลดช่องว่างระหว่างการศึกษาในเมืองและชนบท สร้างความเท่าเทียมกันระหว่างผู้เรียน (4) การสนับสนุนของผู้บริหาร คือ ต้องการให้ผู้บริหารสนับสนุนจัดหาวัสดุ อุปกรณ์และสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม และ (5) การพัฒนาตนเองของครู คือ ครูต้องการแสวงหาความรู้และประสบการณ์ใหม่ ๆ เกี่ยวกับเทคโนโลยี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9689
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Edu-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
154761.pdf2.35 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons