กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9713
ชื่อเรื่อง: การบริหารยุทธศาสตร์ของสำนักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Strategy management of the Office of Foreign Workers Administration Department of Employment, Minister of Labour
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จําเนียร ราชแพทยาคม
ญาดา ทองศรี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
สำนักบริหารแรงงานต่างด้าว--การบริหาร
การบริหารแรงงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากระบวนการบริหารยุทธศาสตร์ของสํานักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน และ (2) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาการบริหารยุทธศาสตร์ของสํานักบริหารแรงงานต่างด้าว กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษา คือ ผู้บริหารและบุคลากรที่ปฏิบัติงานในสํานักงานบริหารแรงงานต่างด้าว จํานวน 27 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเพื่อการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและอธิบายในรูปแบบพรรณนาความ ผลการศึกษาพบว่า (1) กระบวนการบริหารยุทธศาสตร์ของการบริหารแรงงานต่างด้าวอยู่ภายใต้ แผนยุทธศาสตร์ของกรมการจัดหางาน ซึ่งได้จัดทําให้สอดคล้องกับสถานการณ์และบริบทการเปลี่ยนแปลงด้านแรงงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ การจัดทํายุทธศาสตร์ด้านการบริหารแรงงานต่างด้าว ใช้เทคนิคการวางแผนเชิงกลยุทธ์โดยการวิเคราะห์ปัจจัยสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก การกําหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจเป้าหมายและดัชนีชี้วัด ในด้านการดําเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ มีการประชุมชี้แจงทําความเข้าใจเพื่อให้ทุกส่วนชี้แจงและดําเนินงานไปในทิศทางเดียวกัน มุ่งผลสัมฤทธิ์ ภายใต้การสนับสนุนอย่างจริงจังของทุกส่วนงานส่งเสริมการทํางานแบบให้มีการประสานแนวราบ มีการจัดทําฐานข้อมูลและพัฒนาโครงข่ายข้อมูลข่าวสาร ระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในการเข้าถึงระบบข้อมูลเกี่ยวกับการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าว และใช้ประโยชน์ได้สะดวก ส่วนการติดตามประเมินผล มีการจัดทําตัวชี้วัดต่อเป้าประสงค์ในระยะครึ่งแผนและระยะสิ้นสุด สําหรับปัจจัยหลักที่เป็นอุปสรรคในการดําเนินงาน ได้แก่ ปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุม เช่น การปรับเปลี่ยนนโยบายทางการเมืองบ่อยครั้งส่งผลให้การกําหนดนโยบายและการปฏิบัติงานของสํานักบริหารแรงงานต่างด้าวขาดความเป็นเอกภาพ และไม่ชัดเจนเพียงพอ และ (2) จากเดิมสํานักงานบริหารแรงงานต่างด้าวไม่มีแผนยุทธศาสตร์เฉพาะ ผู้ศึกษาจึงเสนอแนะแนวทางว่า ควรจัดทํายุทธศาสตร์ 5 แนวทาง ประกอบด้วย 1) การพัฒนาระบบบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวอย่างมีประสิทธิภาพ 2) การพัฒนาและปรับปรุงกระบวนงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ 3) การสร้างความร่วมมือในทางวิชาการระหว่างเครือข่ายในระดับภูมิภาค 4) การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการ 5) การพัฒนาสู่องค์กรที่เป็นเลิศด้านการบริหารจัดการด้านแรงงานระหว่างประเทศ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9713
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
147897.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.5 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons