Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9718
Title: | การประเมินการใช้โปรแกรมระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ e-LAAS ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ |
Other Titles: | Use of e-LAAS accounting software by local administrative organizations in Chiang Mai Province |
Authors: | จีราภรณ์ สุธัมมสภา อรุณี เปราะนาค มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี องค์การบริหารส่วนตำบล--ประเมิน--ไทย--เชียงใหม่ การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
Issue Date: | 2557 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) ประเมินการใช้ปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการปฏิบัติระหว่างดำเนินการ และด้านผลผลิตของระบบ e-LAAS ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดเชียงใหม่ (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรค ในการใช้งาน ของระบบ e-LAAS ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในจังหวัดเชียงใหม่ (3) เปรียบเทียบการประเมินการใช้โปรแกรม ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ e-LAAS และปัญหาและอุปสรรค จำแนกตามตำแหน่งงาน การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นเจ้าหน้าที่ ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับระบบ e-LAAS ในการบันทึกบัญชีคอมพิวเตอร์องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 1,508 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ยามาเน่ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ทำการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลได้แก่แบบสอบถาม ใช้สถิติพรรณนา ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติอนุมาน ได้แก่ค่าสถิติเอฟ ผลการศึกษาพบว่า (1) ผู้ตอบแบบสอบถามประเมินปัจจัยทั้งสี่ด้าน โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมาก ไปหาน้อย ได้แก่ ปัจจัยพื้นฐานสภาพแวดล้อมปัจจัยด้านผลผลิต ปัจจัยนำเข้า และปัจจัยด้านกระบวนการ (2) ผู้ตอบแบบสอบถาม ประเมินปัญหาและอุปสรรคจากการใช้โปรแกรม e-LAAS ในเรื่องผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญของการมีระบบ e-LAAS ในการบริหารงานเป็นอันดับแรกรองลงมาคือ หน่วยงานไม่มีการจัดเตรียมวัสดุ อุปกรณ์ และสถานที่สำหรับการนำระบบ e-LAAS มาใช้งาน และอันดับสุดท้าย มีด้วยกันทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ หน่วยงานไม่มีคู่มือการใช้งาน ในระบบ e-LAAS หน่วยงานไม่สามารถติดตาม และนำข้อมูลสารสนเทศมาใช้งานได้ทันที และรายงานที่ได้รับจากระบบ e-LAAS ไม่สามารถสนับสนุน การตัดสินใจที่กำลังทำขณะนั้นได้ (3) ตำแหน่งงานที่แตกต่างกัน ไม่มีผลต่อการประเมินการใช้โปรแกรมระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ e-LAAS และปัญหา และอุปสรรคขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดเชียงใหม่ทุกด้าน |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9718 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
148088.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 13.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License