กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9738
ชื่อเรื่อง: การยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงไหมของเกษตรกร ในจังหวัดกาญจนบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Sericultural technology adoption by farmers in Kanchanaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สิน พันธ์ุพินิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
บุญธรรม จิตต์อนันต์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ปัญญา หิรัญรัศมี, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิศิษฐ์ ไฝจันทร์, 2504-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: ไหม--การเลี้ยง
เทคโนโลยีการเกษตร--ไทย
เกษตรกร--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2544
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพสังคม เศรษฐกิจ และสภาพการเลี้ยง ไหมของเกษตรกร (2) ระดับการยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงไหมของเกษตรกร (3) ความสัมพันธ์ ระหว่างปัจจัยทางสังคม เศรษฐกิจ และปัจจัยสนับสนุนอื่นกับการยอมรับเทคโนโลยีของเกษตรกร และ (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะของเกษตรกร ผลการวิจัยสรุปได้ว่า (1) เกษตรกรส่วนมากเป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 43.91ปี จบการศึกษาชั้นประถมปีที่ 4 มีสมาชิกในครอบครัวเฉลี่ย 4.11คน มีประสบการณ์การเลี้ยงไหม มามากกว่า 10 ปี ใช้แรงงานในครอบครัวเป็นหลัก เฉลี่ย 1.45 คน บางครอบครัวมีการใช้แรงงาน จากภายนอกมาเสริมในช่วงการเลี้ยงไหมวัย 5 และเก็บไหมสุก เกษตรกรใช้เงินทุนของตนเองร่วม กับเงินกจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เกษตรกรมีพืนที่ปลูกหม่อนเฉลี่ย ครอบครัวละ 12.01 ไร่แต่ไม่มีแหล่งนาที่จะใช้รดหม่อน มีโรงเสียงไหมขนาด 81.88 ตารางเมตร และเสียงไหม ปีละ 9.05 รุ่นโดยเลียงรุ่นละ 1-2 แผ่น (2) เกษตรกรยอมรับเทคโนโลยีการเลี้ยงไหม ในระดับมาก (3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการยอมรับเทคโนโลยีการเลียงของเกษตรกร ได้แก่ ประสบการณ์ การเลียงไหม ขนาดของโรงเลี้ยงไหม และแหล่งเงินทุน ( 4 ) ปัญหาที่สำคัญของ เกษตรกรคือ เรื่องไหมเป็นโรคขาดแคลนแหล่งน้ำ แมลงวันลาย ทำลายหนอนไหม และการขาด แหล่งเงินทุน ดังนั้น จึงได้เสนอให้ หน่วยงานของรัฐ จัดฝึกอบรมเรื่องโรคไหม และศัตรูไหม สนับสนุนเงินทุน และจัดหาแหล่งนำให้เกษตรกร
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2544
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9738
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
76429.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons