กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/973
ชื่อเรื่อง: การสื่อสารทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The political communications of King Mongku
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รสลิน ศิริยะพันธุ์
ชนะศึก วิเศษชัย, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
รุ่งพงษ์ ชัยนาม
คำสำคัญ: จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2347-2411
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการเมืองการปกครอง -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชารัฐศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
การสื่อสารทางการเมือง -- ไทย
วันที่เผยแพร่: 2554
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาจุดมุ่งหมายของการสื่อสารทางการเมืองของ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยูหัว การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยตีความจากเอกสารทางประวัติศาสตร์และ ผลงานทางวิชาการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและสัมภาษณ์เจาะลึกผู้เชี่ยวชาญทางด้านประวัติศาสตร์สองราย และวิเคราะห์ข้อมูลโดยการบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า การสื่อสารทางการเมืองของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีจุดมุ่งหมาย คือ 1) การแสดงความชอบธรรมในฐานะกษัตริย์ของพระองค์ท่านโดยทรงสื่อสาร ให้เห็นถึงความชอบธรรมทางกฎหมาย คือทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ได้รับการบรมราชาภิเษก ถูกต้องตามจารีตประเพณี และทรงเป็น “หน่อพระพุทธเจ้า” ผู้เป็นรัชทายาทตามกฎมณเฑียรบาล และทรงสื่อสารถึงความชอบธรรมทางการเมือง คือ ทรงได้รับการยอมรับจากผู้ใต้ปกครองทรงดำรง พระองค์ในฐานะองค์ธรรมราชา และทรงเป็นผู้ปกครองที่ผดุงความยุติธรรม 2) การแสดงแนว พระราชดำริทางการเมืองเกี่ยวกับสถานะของพระมหากษัตริย์โดยทรงสื่อสารให้เห็นแนวพระราชดำริเกี่ยวกับกษัตริย์ที่เกี่ยวข้องกับเทพเจ้า กษัตริย์แบบธรรมราชา และกษัตริย์แบบบุคคล ธรรมดาสามัญ 3) การส่งเสริมเสรีภาพ โดยเฉพาะการส่งเสริมเสรีภาพของสตรี ในเรื่องของการเลือกคู่ครองของตนและสิทธิในชีวิต และการส่งเสริมเสรีภาพของประชาชนในการเข้าถึงผู้ปกครอง 4) การอบรมกล่อมเกลาทางการเมือง ทรงสื่อสารเพื่อให้ราษฎรยึดถือระบบการควบคุมทางสังคมแบบสังคมไพร่การสร้างชาตินิยม การสืบสานพระพุทธศาสนาในฐานะที่เป็นสถาบันที่มีอิทธิพลทางสังคมและการเมืองการปกครอง เพื่อสืบทอดแนวคิดผู้ปกครองแบบผู้มีบุญ และอบรมกล่อมเกลาให้ราษฎรเป็นผู้มีเหตุผล 5) การสร้างธรรมาภิบาลในประเด็นเกี่ยวกับความโปร่งใส ความยุติธรรม หลักคุณธรรม หลักนิติรัฐ และ หลักการมีส่วนร่วม 6) การสร้างเสถียรภาพทางการเมือง โดยทรงสื่อสารให้เห็นถึงพระอัจฉริยภาพส่วนพระองค์ คุณลักษณะแห่งการประนีประนอมประสาน ประโยชน์ และประสิทธิภาพในการสื่อสารของพระองค์
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ร.ม. (การเมืองการปกครอง))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2554
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/973
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Pol-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thesbib128389.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.27 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons