Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9745
Title: ประสิทธิผลในการจัดบริการสาธารณะด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้กับประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์
Other Titles: The effectiveness of public service management in the area of quality of life-promoting services for the people of Wang Daeng Subdistrict Administrative Organization, Tron District, Uttaradit Province
Authors: พนมพัทธ์ สมิตานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชาญชัย สุทธะตั้ง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
องค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง--การบริหาร
คุณภาพชีวิต--ไทย--อุตรดิตถ์
บริการสาธารณะ--ไทย--อุตรดิตถ์
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา(1) การจัดบริการสาธารณะด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิต ขององค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง (2) ระดับประสิทธิผลในการจัดบริการสาธารณะด้านงานส่งเสริมคุณภาพ ชีวิตขององค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง (3) แนวทางในการเสริมสร้างประสิทธิผลในการจัดบริการสาธารณะ ด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิตขององค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง ประชากรที่ศึกษาคือ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งในองค์การบริหารส่วนตำบลวังแดง อำเภอตรอน จังหวัด อุตรดิตถ์ กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 384 คน จากจำนวนประชากร 9,192 คน ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถามสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่การแจกแจงความถี่ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) การจัดบริการสาธารณะด้านงานส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามแนวคิดในการ จัดบริการสาธารณะทุกด้าน มีประสิทธิผลมากกว่าร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ซึ่งทุกด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก โดยด้านการให้บริการอย่างพอเพียงอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการ ให้บริการอย่างต่อเนื่อง ด้านการให้บริการที่ตรงต่อเวลา ด้านการให้บริการอย่างเสมอภาคและ ด้านการ ให้บริการอย่างก้าวหน้า ตามลำดับ (2) ระดับประสิทธิผลในการจัดบริการสาธารณะด้านงานส่งเสริมคุณภาพ ชีวิตทุกงานมีประสิทธิผลมากกว่าร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.05 ซึ่งทุกงานพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยูใน ระดับมากที่สุด โดยงานด้านสวัสดิการสังคม อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ งานด้านการศึกษา งานด้าน สาธารณสุข และงานด้านการส่งเสริมอาชีพ ตามลำดับ (3) แนวทางในการเสริมสร้างประสิทธิผลได้แก่ ด้านการ ให้บริการอย่างเสมอภาค ควรจัดทำแผนผังและคู่มือเกี่ยวกับมาตรฐานในการให้บริการ ด้านการให้บริการที่ตรง ต่อเวลา ควรมีการทำคำรับรองการปฏิบัติราชการเกี่ยวกับการให้บริการที่ตรงต่อเวลา ด้านการให้บริการอย่าง พอเพียง ควรเพิ่มอัตราตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ให้มากยิ่งขึ้น ด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่อง ควรเพิ่มช่องทาง ประชาสัมพันธ์การให้บริการ หรือหยุดให้บริการให้ประชาชนทราบ ด้านการให้บริการอย่างก้าวหน้า ควรนำ รูปแบบการให้บริการแบบศูนย์บริการจุดเดียวเบ็ดเสร็จมาใช้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9745
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
148797.pdfเอกสารฉบับเต็ม16.95 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons