กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/974
ชื่อเรื่อง: การรับรู้สารสนเทศของผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวันแบบยั่งยืนวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Information perceived by organizers in the sustainable food bank project of Phetchaburi College of Agriculture and Technology
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ทัศนา หาญพล
สุกัญญา พงศ์ภัสสร, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ธนรัชฏ์ ศิริสวัสดิ์
อมรรัตน์ ภิญโญอนันตพงษ์
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาสารสนเทศศาสตร์--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์--วิทยานิพนธ์
โครงการอาหารกลางวันแบบยั่งยืน
สารสนเทศ
การรับรู้
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการรับรู้สารสนเทศของผู้รับผิดชอบโครงการ อาหารกลางวันแบบยั่งยืน วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรีในด้านบริหารและกระบวนการ ด้านกิจกรรมกระบวนการผลิตอาหาร ด้านกิจกรรมประกอบอาหาร ด้านปัจจัยตัวชี้วัดทางด้านสาธารณสุข ด้านปัญหาการรับรู้แหล่งสารสนเทศและด้านปัญหาประเภทสารสนเทศ (2) เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้สารสนเทศของผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวันแบบยั่งยืนจำแนกตามตำแหน่งบทบาทและเขตพื้นที่การศึกษา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ประกอบด้วยผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบ โครงการอาหารกลางวันแบบยั่งยืนด้านการเกษตร (การผลิตอาหาร) ด้านการประกอบอาหารกลางวัน และด้านอาชีวอนามัยของโรงเรียนที่เขาร่วมโครงการอาหารกลางวันแบบยั่งยืนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดเพชรบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์เขต 2 รวม จำนวน 196 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่รัอยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า (1) การรับรู้สารสนเทศเกี่ยวกับโครงการอาหารกลางวันแบบยั่งยืนด้านการบริหารและกระบวนการ ด้านกิจกรรมประกอบอาหาร ต้านปัจจัยตัวชี้วัดทางด้านสาธารณสุขทุกข้ออยู่ในระดับมาก ส่วนด้านกิจกรรมกระบวนการผลิตอาหาร ด้านปัญหาแหล่งสารสนเทศและด้านปัญหาประเภทสารสนเทศทุกข้ออยู่ในระดับปานกลาง (2) การเปรียบเทียบการรับรู้สารสนเทศจำแนกตามตำแหน่งหนัาที่ ผลการวิจัยพบว่าผู้รับผิดชอบที่อยู่ในตำแหน่งหน้าที่ที่แตกต่างกันได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวันแบบยั่งยืนด้านการเกษตร (การผลิตอาหาร) ด้านการประกอบอาหาร และด้านอาชีวอนามัยมีการรับรู้สารสนเทศ โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในด้านบริหารและกระบวนการ ด้านกิจกรรมประกอบอาหาร ด้านปัจจัยตัวชี้วัดทางด้านสาธารณสุข และด้านปัญหาการรับรู้แหล่งสารสนเทศโครงการอาหารกลางวันแบบยั่งยืนและการเปรียบเทียบการรับรู้สารสนเทศโครงการอาหารกลางวันแบบยั่งยืนจำแนกตามเขตพื้นที่การศึกษา ผลการวิจัยพบว่า ผู้รับผิดชอบโครงการอาหารกลางวันแบบยั่งยืนที่อยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาต่างกัน มีการรับรู้สารสนเทศโดยรวมไม่แตกต่างกัน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (สารสนเทศศาสตร์))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2553
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/974
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (17).pdfเอกสารฉบับเต็ม17.66 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons