กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9772
ชื่อเรื่อง: ความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของบริษัท ช.การช่าง (ลาว) จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Employees opinion towards learning organization at Ch.Karnchang (Lao) Company Limited
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์
สุนิสา อ่อนสี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัทช.การช่าง (ลาว) จำกัด--พนักงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
การบริหารองค์การ
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของบริษัท ช.การช่าง (ลาว) จํากัด (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรเกี่ยวกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของบริษัท ช.การช่าง (ลาว) จํากัด จําแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลและ (3) เสนอแนะแนวทางส่งเสริมการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของบริษัท ช.การช่าง (ลาว) จํากัด การศึกษาครั้งนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงสํารวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ พนักงานระดับปฏิบัติการของบริษัท ช.การช่าง (ลาว) จํากัด จํานวน 1,014 คน โดยกลุ่มตัวอย่างได้จากการคํานวณตามสูตรของ ทาโร ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่างจํานวน 287 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่ายตามจํานวนที่กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม โดยมีความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ใน การวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างทางนัยสําคัญทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า (1) บุคลากรของบริษัท ช.การช่าง (ลาว) จํากัด มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ตามแนวคิดของ ปี เตอร์ เอ็ม. เซ็งกี้ ทั้ง 5 ด้าน อยู่ในระดับมาก โดยเรียงลําดับจากมากที่สุด คือ ด้านการสร้างวิสัยทัศน์ร่วมกัน ด้านการเป็นบุคคลที่รอบรู้ด้านแบบแผนความคิด ด้านการคิดอย่างเป็นระบบ และด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (2) บุคลากรบริษัท ช.การช่าง (ลาว) จํากัด ที่มี เพศ สถานภาพการสมรส และตําแหน่งงานที่รับผิดชอบแตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ไม่แตกต่างกัน ส่วนบุคลากรที่มี อายุระดับการศึกษาสูงสุด อายุ การทํางานในบริษัท ช.การช่าง (ลาว) จํากัด และรายได้ต่อเดือนแตกต่างกัน มีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับ การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้แตกต่างกัน อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางส่งเสริมการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของบริษัท ช.การช่าง (ลาว) จํากัด ได้แก่ ควรจัดให้มีการจัดอบรมบุคลากรในองค์การ เปิดโอกาสให้บุคลากรทุกคนมีสิทธิ์ในการออกเสียงแสดงความคิดเห็น มีการจัดกิจกรรมร่วมกันของคนในองค์การ เช่น จัดให้มีกีฬาสี งานรื่นเริงต่างๆ เพื่อให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันภายในองค์การ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9772
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
149017.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons