กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9776
ชื่อเรื่อง: คุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Quality of working life of official at Office of the Auditor General of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิ่งพร ทองใบ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พันทิวา ชีวะวงค์, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน--ข้าราชการ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
คุณภาพชีวิตการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงานของข้ราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล (3) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินวิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร ได้แก่ ข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินทั้งหมด จำนวน 2,883 คน คำนวณตามสูตรของ ทาโร ยามาเน่ ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 352 คน ใช้วิธี การสุ่มตัวอย่างแบบง่าย โดยเก็บตัวอย่างข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ในระดับชำนาญการและปฏิบัติการได้จำนวน 363 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที่ การทคสอบค่าเอฟ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบความแตกต่างรายคู่โดยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของข้าราชการสำนักงานการตรวจเงิน-แผ่นดิน ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาราชค้านพบว่า คุณภาพชีวิตการทำงานค้านความภูมิใจในองค์กรที่มีคุณค่าทางสังคม มีคำเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านลักษณะการบริหารและค้านความสมดุลระหว่างชีวิตทำงานและชีวิตส่วนตัว มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (2) ข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ที่มีปัจจัขส่วนบุคคลด้านเพศ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษารายได้เฉลี่ยต่อเดือน ตำแหน่งงานปัจจุบัน แตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิตการทำงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.0ร ส่วนข้าราชการ ที่มีประสบการณ์ในการทำงานแตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตการทำงานไม่แตกต่างกัน (3) ข้อเสนอแนะ ควรมีการพิจารณาปริมาณงานที่รับผิดชอบในแต่ละส่วนงานอย่างเหมาะสมให้เกิดความสมดุลทั้งชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวและมีการจัดสรรเครื่องใช้สำนักงานอย่างเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9776
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_153825.pdfเอกสารฉบับเต็ม10.23 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons