กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9797
ชื่อเรื่อง: คุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการแผนกสาวเส้นไหมและย้อมเส้นด้าย บริษัท อุตสาหกรรมไหมไทย จำกัด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The quality of work life of employees at silk and yarn dyeing Thai Silk Company
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เสรี รังษีธรรมปัญญา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ.
คุณภาพชีวิตการทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตในการทํางานของพนักงาน ระดับปฏิบัติการในแผนกสาวเส้นไหมและย้อมเส้นด้าย บริษัทอุตสาหกรรมไหมไทย จํากัด (2) เปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทํางานของพนักงานระดับปฏิบัติการในแผนกสาวเส้นไหมและย้อมเส้นด้าย บริษัท อุตสาหกรรมไหมไทย จํากัด จําแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ พนักงานระดับ ปฏิบัติการในแผนกสาวเส้นไหมและย้อมเส้นด้าย จํานวนทั้งหมด 136 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้จํานวน 101คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมันเท่ากัน 0.968 สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบ ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสําคัญทางสถิติ ผลการศึกษาพบว่า (1) คุณภาพชีวิตการทํางานของพนักงานระดับปฏิบัติการในแผนกสาว เส้นไหมและย้อมเส้นด้าย โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่อยู่ใน ระดับมากที่สุดคือด้านประชาธิปไตยในองค์การ รองลงมาคือด้านบูรการทางสังคม ด้านสภาพการทํางาน ที่คํานึงถึงความปลอดภัยและสุขภาพอนามัย ด้านโอกาสในการพัฒนาความรู้ความสามารถ ด้านลักษณะ งานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม ด้านการได้รับค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม ด้านความมั่นคงและ ความก้าวหน้าในงาน และค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตการทํางานที่อยู่ในระดับน้อยที่สุด คือด้านความสมดุล ระหว่างกับชีวิตส่วนตัว งานตามลําดับ (2) พนักงานระดับปฏิบัติการในแผนกสาวเส้นไหมและย้อม เส้นด้าย ที่มีเพศ อายุ สถานภาพสมรส แตกต่างกันมีคุณภาพชีวิตการทํางานไม่ แตกต่างกัน ส่วนพนักงาน ที่มีระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน ระยะเวลาการทํางาน และตําแหน่งงานแตกต่างกัน มีคุณภาพชีวิต การทํางานแตกต่างกัน อย่างมี นัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9797
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
150928.pdfเอกสารฉบับเต็ม14.41 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons