กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9805
ชื่อเรื่อง: การบริหารยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชระยะ 5 ปี (พ.ศ.2556-2560)
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The 5-year strategic management of Sukhothai Thammathirat Open University (2013-2017)
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลักษณา ศิริวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชนัดดา ศรีรุ้ง
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช--การบริหาร
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากระบวนการบริ หารยุทธศาสตร์ของแผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2556-2560) 2) วิเคราะห์ปัญหาของกระบวนการบริหารยุทธศาสตร์ ของแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2556-2560) 3) เสนอแนวทางพัฒนาการ บริหารยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช การศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ กลุ่มผู้รับผิดชอบการดําเนินงานตามกระบวนการบริหารยุทธศาสตร์ของแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2556-2560) โดยสุ่มแบบเจาะจง จํานวน 25 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้แบบสัมภาษณ์ชนิดมี โครงสร้าง และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการบริหารยุทธศาสตร์ของแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2556-2560) มี 4 ขั้นตอน คือ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอก การวางแผนยุทธศาสตร์ การนําแผนยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ และการประเมินผลแผนยุทธศาสตร์ 2) ปัญหาของกระบวนการบริหารยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกหน่วยงาน พบว่า บุคลากรมีความรู้และข้อมูลในการวิเคราะห์ ไม่เพียงพอ วิเคราะห์จากความรู้สึกมากกว่าข้อเท็จจริง (2) การวางแผนยุทธศาสตร์ พบว่า การดําเนินงานตามตัวชี้วัดที่ เป็นลักษณะของเจ้าภาพร่วมไม่ได้มีการวางแผนการส่งต่อภาระในแต่ละหน่วยงานให้ชัดเจน หน่วยงานเปลี่ยนผู้จัดทํา แผนบ่อย ผู้ที่เข้าประชุมแผนมักไม่ใช่ผู้ปฏิบัติคํานิยามตัวชี้วัดไม่ชัดเจน (3) การนําแผนยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ พบว่า บุคลากรบางส่วนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ ไม่มีการถ่ายทอดตัวชี้วัดระดับเป้าประสงค์ไปสู่การปฏิบัติใน ส่วนที่เกี่ยวข้อง ผู้บริหารบางส่วนไม่เห็นถึงความสําคัญของการนํายุทธศาสตร์ไปใช้ (4) การประเมินผลแผนยุทธศาสตร์ พบว่า มีความล่าช้าและไม่มีการนําผลมาปรับปรุง 3) แนวทางพัฒนาการบริหารยุทธศาสตร์ ได้แก่ (1) การวิเคราะห์ สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกหน่วยงาน ควรวิเคราะห์จากข้อเท็จจริง (2) การวางแผนยุทธศาสตร์ ควรกำหนดให้ หน่วยงานที่ปฏิบัติงานโดยตรงเป็นเจ้าภาพหลักในการรับผิดชอบตัวชี้วัด ควรกำหนดผู้จัดทําแผนไว้อย่างน้อยคนละ 5 ปี และต้องเป็นผู้ที่เข้าประชุมแผนทุกครั้ง ควรกำหนดตัวชี้วัดให้เป็นไปตามหลักวิชาการ ได้มาตรฐานที่สามารถวัดผลสําเร็จ ได้ รวมทั้งเข้าใจง่ายและปฏิบัติได้ และควรสร้างขึ้นจากสภาพที่เป็นจริงของหน่วยงาน (3) การนําแผนยุทธศาสตร์ไปปฏิบัติ ควรอบรมการบริหารยุทธศาสตร์ทุกขั้นตอนแก่บุคลากรทุกระดับอย่างน้อยปี ละ 1-2 ครั้ง ถ่ายทอดตัวชี้วัดระดับเป้าประสงค์ไปสู่ การปฏิบัติให้มากขึ้น ผู้บริหารระดับสูงควรแสดงออกด้วยการสนับสนุนการบริหารยุทธศาสตร์อย่างชัดเจนและต่อเนื่อง ซึ่งรวมทั้งประกาศใช้แผนยุทธศาสตร์ของหน่วยงานอย่างชัดเจน และเป็นตัวอย่างที่ดีในการสนับสนุนการบริหาร ยุทธศาสตร์อย่างจริงจังและต่อเนื่อง (4) การประเมินผลแผนยุทธศาสตร์ ควรเร็วขึ้นและหน่วยงานควรนําผลการ ประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาแผนยุทธศาสตร์ในปีต่อไป
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9805
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
150946.pdfเอกสารฉบับเต็ม18.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons