กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9808
ชื่อเรื่อง: การประเมินผลการดำเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Evaluation of thai women empowerment funds in Omkoi District, Chiangmai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จีระ ประทีป
ชญาภา ศิริวรรณ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
กองทุนพัฒนาบทบาทสตรี--การประเมิน
การประเมินผลงาน
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาเรื่องการประเมินผลการดําเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี อําเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินผลการดําเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ของอําเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ (2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคของการดําเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ในอําเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ (3) เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาและพัฒนาการดําเนินงานกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสํารวจ ประชากรในการวิจัย ได้แก่ สมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี ที่เคยได้รับบริการเงินกู้จากกองทุนพัฒนาบทบาทสตรี หรือเคยเข้าร่วมกิจกรรมกองทุนพัฒนาบทบาท จํานวนทั้งสิ้น 692 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างจํานวน 254 คน จากการคํานวณตามสูตรของทาโร ยามาเน่ ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่าง แบบอย่างง่าย และใช้แบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามกรอบแบบประเมินผลดุลยภาพ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ในการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยการแจกแจงความถี่ คํานวณค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า (1) การดําเนินงานด้านการเงิน อยู่ในระดับปานกลาง การดําเนินงานด้านสมาชิกผู้รับบริการ อยู่ในระดับมาก การดําเนินงานด้านกระบวนการดําเนินงาน อยู่ในระดับปานกลางและการดําเนินงานด้านการพัฒนาและการเรียนรู้ อยู่ในระดับปานกลาง (2) ปัญหาในการดําเนินงาน ด้านการเงิน คือ ไม่มีงบประมาณในการบริหารจัดการกองทุน ปัญหาด้านสมาชิกผู้รับบริการ คือ สมาชิกผู้รับบริการเห็นว่าการ อนุมัติเงินโครงการล่าช้า ปัญหา ด้านกระบวนการดําเนินงาน คือ สมาชิกขาดการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดําเนินงานของกองทุนพัฒนา บทบาทสตรี และปัญหาด้านการพัฒนาและการเรียนรู้ คือ ที่ทําการกองทุนหรือศูนย์กลางการจัดกิจกรรมฝึกอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของสมาชิก อยูห่างไกลจากหมู่บ้านของสมาชิก (3) ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนากองทุนพัฒนาบทบาทสตรี คือควรมีการจัดสรรผลกำไรให้กองทุนพัฒนาบทบาทสตรีตําบล เพื่อเป็นงบประมาณในการบริหารจัดการกองทุน ฯ ลดขั้นตอนการดําเนินงานให้มีความสะดวกและรวดเร็ว กำหนดให้มีตัวแทนสมาชิกจากทุกหมู่บ้านร่วมเป็น คณะกรรมการกองทุนฯ และให้มีส่วนร่วมในการดําเนินงานกองทุนฯทุกขั้นตอน และควรจัดให้มีศูนย์ข้อมูลกองทุนหรือศูนย์กลางการจัดกิจกรรมกองทุนระดับหมู่บ้าน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9808
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
151348.pdfเอกสารฉบับเต็ม12.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons