กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9817
ชื่อเรื่อง: ความคาดหวังของประชาชนต่อประสิทธิผลโครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จังหวัดสงขลา สำนักงานก่อสร้าง ชลประทานขนาดใหญ่ที่ 11
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The expectations of people for effectiveness on Hat Yai Flood Mitigation projects (phase II) Large Size Irrigation Structure Office 11, Songkhla Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จำเนียร ราชแพทยาคม, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดล จอมประชา
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
โครงการบรรเทาอุทกภัยอำเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จังหวัดสงขลา สำนักงานก่อสร้าง ชลประทานขนาดใหญ่ที่ 11
การบรรเทาสาธารณภัย--ไทย--สงขลา
อุทกภัย
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความคาดหวังของประชาชนต่อประสิทธิผล โครงการ (2) ระดับประสิทธิผลโครงการ (3) ความสัมพันธ์ระหว่าง ความคาดหวังของประชาชนกับ ประสิทธิผล โครงการและ (4) ปัญหาและเสนอแนะเกี่ยวกับการดําเนินการโครงการบรรเทาอุทกภัยอําเภอหาดใหญ่ (ระยะที่ 2) จังหวัดสงขลา สํานักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 11 การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ศึกษา คือ ประชากรที่อยู่ในแนวพื้นที่ก่อสร้าง ประตูระบายนํ้าหน้าควน ตําบลหาดใหญ่ และตําบลควนลัง อําเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จํานวน 400 คน ขนาด กลุ่มตัวอย่าง จํานวน 200 ตัวอย่าง คํานวณจากการใช้สูตรของ ทาโร ยามาเน่ สุ่มตัวอย่าง โดยจําแนกตามพื้นที่และ แบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยงตรงของเนื้อหาเท่ากับ 0.95 และค่าความเชื่อมั่นได้ เท่ากับ 0.895 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิง อนุมาน คือ การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลคุณภาพ ใช้การ วิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า (1) ระดับความคาดหวังของประชาชนต่อประสิทธิผลโครงการโดยภาพรวมอยู่ ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าความสามารถในการระบายนํ้าได้เพิ่มขึ้น อยู่ในระดับมาก รองลงมาคือ ความสามารถในการแก้ปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ได้ (2) ประสิทธิผลโครงการ โดยภาพรวมอยู่ใน ระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านผลลัพธ์อยู่ ในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านความคุ้มค่ากับการใช้ ทรัพยากรประเภทต่างๆ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างความคาดหวังของประชาชน กับประสิทธิผลโครงการ พบว่า มี ความสัมพันธ์กันเชิงบวกในระดับสูง (r = .727) อย่างมีนัยสําคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) ปัญหาและ ข้อเสนอแนะ พบว่า 1) ด้านการบริหารจัดการ มีปัญหาเกี่ยวกับที่ดิน ข้อเสนอแนะคือ 1) ด้านการบริหารจัดการ มี ปัญหาเกี่ยวกับที่ดิน ข้อ เสนอแนะคือ ควรจัดให้มีการประชุมหารือ เพื่อหาข้อสรุปในการชี้แนวเขตที่ดิน 2) ด้าน การมีส่วนร่วม มีปัญหาเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ข้อเสนอแนะคือ ควรประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับโครงการใน พื้นที่ให้มากขึ้น 3) ด้านผลกระทบจากการดําเนินการ มีปัญหาคือ 3.1) การไร้ที่อยู่อาศัย ที่ทํากิน ข้อเสนอแนะคือ ควรจัดให้มีการประชุมชี้แจงให้ประชาชนทราบเกี่ยวกับข้อกําหนดเงินเวนคืนต่างๆ 3.2) ปัญหาการจราจร ข้อเสนอแนะคือ ควรมีการแจ้งเตือน ป้ายเตือน จัดหาอุปกรณ์ป้องกันต่างๆ และ 3.3) ปัญหาด้านการระบายนํ้า ข้อเสนอแนะคือ ควรเร่งดําเนินการก่อสร้าง และจัดหาเครื่องสูบนํ้าเพื่อช่วยเร่งในการระบายนํ้าให้ทันเวลา
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9817
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
151518.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.81 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons