กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9823
ชื่อเรื่อง: การใช้เทคโนโลยีผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของเกษตรกรในโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุ์ข้าวชุมชนจังหวัดสระบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: An application of rice seed production technology by farmers of the Rice Seed Community Center Project in Saraburi province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เบญจมาศ อยู่ประเสริฐ, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรทิพย์ อุดมสิน, อาจารย์ที่ปรึกษา
พรรณาราย สงวนสิน, 2498-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาส่งเสริมการเกษตร --วิทยานิพนธ์
เกษตรกร--ไทย--สระบุรี
ข้าว--เมล็ดพันธุ์--การผลิต--เทคโนโลยีที่เหมาะสม
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) สภาพพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจของเกษตรกรในโครง การศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็คพันธุ์ข้าวชุมชนจังหวัคสระบุรี (2) การใช้เทคโนโลยีผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนของ เกษตรกรในโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชนจังหวัดสระบุรี (3) ความรู้เกียวกับการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของชุมชนของเกษตรกรในชังหวัดสระบุรี (4) ปัญหาและข้อเสนอแนะในการใช้เทคโนโลยีผลิตพันธุ์ข้าวของเกษตรกรใน โครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตพันธุข้าวชุมชนจังหวัดสระบุรี ผลการวิจัยพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุเฉลี่ย 48.21 ปีจบการศึกษาระดับชันประถมศึกษา มีแรงงานในการเกษตรโดยเฉลี่ย 3 คน ต่อครัวเรือน มีพื้นที่ทำนาโดยเฉลี่ย 32.64 ไร่ การจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าวโดยเฉลี่ย ราคากิโลกรัมละ 4.99 บาท รายได้โดยรวมจากการจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ข้าว ในรอบปืที่ผ่านมาโดยเฉลี่ย 25,079.57 บาท สมาชิกเกษตรกรในโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน เป็นสมาชิกของสถาบันเกษตรกรเกินกว่าครึ่งหนึ่ง 63.4 เป็นสมาชิกกลุ่มลูกค้า ธ.ก.ส. ตลอดฤดูการผลิตได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธ์ของเกษตรกร มีจำนวนครั้งโดยเฉลี่ย 2.83 ครั้ง การได้รับข่าวสารความรู้ด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวจากเจ้าหน้าที่ส่งเสริมระดับตำบลและ อำเภอ ระดับมากที่สุดโดยเฉลี่ย 4.74 มีผลให้เกษตรกรส่วนใหญ่มีการใช้เทคโนโลยีการผลิตพันธุ์ข้าวชุมชน จากการเข้า ร่วมอบรมโครงการศูนย์ส่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน มีการปฏิบัติการปลูกการลดความชน การเตรียมเมล็ด พันธุ์การรักษาการเตรียมดิน การเก็บเกี่ยว การกำจัดพันธุ์ปน การเก็บรักษาเพื่อรอจำหน่ายในระดับมาก เกษตรกรมี ความรู้ในการผลิตเมล็ดพันธุข้าวชุมชนจากการเข้ารับการถ่ายทอดความรู้ในกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร ล่งผลให้ เกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้ในระดับมาก ปัญหาสำคัญของการใช้เทคโนโลยีในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว คือ แรงงานที่ ใช้ควบคุมนำ แวะแรงงานที่ใช้ในการใช้เทคโนโลยี ซึ่งแต่ละครัวเรือนมีแรงงานจำกัด เกษตรกร เสนอแนะให้มีการ สนับสนุนการอบรมกระบวนการโรงเรียนเกษตรกร ในการใช้เทคโนโลยีที่สามารถใช้แรงงานในครัวเรือนที่มีอยู่อย่าง จำกัดได้ประสบความสำเร็จ สนับสนุนเมล็ดพันธุ์ข้าวจากศูนย์หลักหรือสถานีทดลองข้าว และมีการประกันราคาเมล็ด พันธุ์ข้าว จากเกษตรกรในโครงการศูนย์ล่งเสริมและผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชุมชน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (กษ.ม. (ส่งเสริมการเกษตร))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2546
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9823
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Agri-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
83645.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons