Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9835
Title: | ประสิทธิผลการดำเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในสาขาอาชีพผู้ประกอบอาหารไทยของสำนักพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน |
Other Titles: | Effectiveness of the national skill standards test of Thai Cook of the Office of Instructor and Training Technology Development, Department of Skill Development |
Authors: | พนมพัทธ์ สมิตานนท์ จรรยานิตย์ ทองบริบูรณ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน แรงงานฝีมือ--มาตรฐาน--ไทย แรงงานฝีมือ--การทดสอบ--ไทย ผู้ประกอบการ--ไทย อาหารไทย การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ประสิทธิผลการดําเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ในสาขาอาชีพผู้ประกอบอาหารไทยของสํานักพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึกกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน (2) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านการดําเนินงานของกระบวนการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติกับประสิทธิผลการดําเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือ แรงงานแห่งชาติในสาขาอาชีพผู้ประกอบอาหารไทย ของสํานักพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน และ(3) เสนอแนะแนวทางในการดําเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ในสาขาอาชีพผู้ประกอบอาหารไทย ของสํานักพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงานประชากรที่ ศึกษา คือผู้เข้ารับการทดสอบ มาตรฐาน ฝีมือแรงงาน แห่งชาติ สาขาอาชีพผู้ประกอบอาหารไทย ณ สํานักพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝี มือแรงงาน ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 (ตุลาคม 2558 –กันยายน 2559) จํานวน 301 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดย ใช้สูตรทาโร ยามาเน่ ณ ระดับความเชื่อมัน 95% ได้จํานวน 172 คน การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า (1) ภาพรวมของประสิทธิ ผลการดําเนินการทดสอบฯ อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านสมรรถนะผู้เข้าทดสอบฯ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาเป็น ด้านการนําไปใช้ประโยชน์ในการประกอบ อาชีพ และด้านความ พึงพอใจการเข้ารับบริการที่หน่วยงาน (2) ปัจจัยด้านการดําเนินงานของกระบวนการทดสอบมาตรฐานฝี มือแรงงานแห่งชาติมีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการดําเนินการทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติในสาขาอาชีพผู้ประกอบอาหารไทย ของสํานักพัฒนาผู้ฝึกและเทคโนโลยีการฝึก กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ทุกปัจจัยในเชิงบวกที่ ระดับสูงมาก เมื่อพิจารณารายปัจจัย พบว่า ปัจจัยที่ 4 การประกาศผลการทดสอบและออกหนังสือรับรองว่าเป็นผู้ผ่านการทดสอบ มี ความสัมพันธ์กับประสิทธิผลการดําเนินการทดสอบฯ ในเชิงบวกที่ระดับสูงมากเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมาเป็นปัจจัยที่ 2 การเตรียมการทดสอบฯ (3) ข้อเสนอแนะที่พบมากที่สุด คือ ควรมีการปรับปรุงข้อสอบให้เป็นปัจจุบัน รองลงมาเป็นควรเพิ่มหลักเกณฑ์ในการตัดสินคะแนนด้านรสชาต |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/9835 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
151903.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 16.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License